วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

Diary no.15

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15
การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Provision for Early Childhood 
วันที่ศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
เวลา 8.30 - 12.30 น

Story of subject (เนื้อหาที่สอน)
      วันนี้เป็นวันสุดท้ายของการเรียนการสอนวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย อาจารย์ได้สรุปการเรียนที่เรียนมาตลอดทั้งเทอม การจัดทำแผนการทำ blog รวมทั้งอาจารย์ได้บอกแนวข้อสอบปลายภาค และสุดท้ายอาจารย์ได้มอบหมายงานให้ทุกกลุ่มที่ไปจัดโครงการวิทยาศาสตร์น่ารู้ที่โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ทำคลิปวีดีโอโดยใช้โปรมแกรม Biteable ส่วนสำคัญที่ต้องใส่ในวีดีโอคือ แนะนำและสรุปฐานต่างๆ และงานกลุ่มอย่างที่สองคือนำสื่อวิชานวัตกรรมมาเชื่อมโยงกับวิทยาศาสตร์ สื่อที่จัดทำขึ้นมาเด็กได้เรื่องของวิทยาศาสตร์อย่างไร

  โครงการวิทยาศาสตร์น่ารู้ ฐานที่ 1 ปริศนา ซีโอทู 



ปิ๊งป่อง ลูกบอลแสนสนุก


ขั้นตอนการสร้าง
  1. ปรึกษาและช่วยกันตัดสินใจเลือกชิ้นงานที่จะจัดทำขึ้น
  2. วางแผนงานโดยการแบ่งหน้าที่กันอย่างชัดเจน
  3. ช่วยกันทำชิ้นงานออกมาจนสำเร็จ

ขั้นตอนการทำ
  1.  นำกระดาษลูกฟูกมาต่อเข้าด้วยกันและใช้กาวร้อนมาเชื่อมกระดาษลูกฟูกเพื่อเป็นฐานให้กล่องกระดาษลูกฟูกสามารถตั้งได้
  2. นำแกนทิชชูมาตัดเป็นครึ่งวงกลมและใช้กระดาษมาติดทับหลังจากนั้นนำไปติดกับแผ่นกระดาษลูกฟูก
  3. ม้วนกระดาษแข็งให้เป็นวงกลม และใช้กาวร้อนติดเข้ากับแผ่นกระดาษลูกฟูก
  4. ทำอุปกรณ์ตกแต่งกับสื่อนวัตกรรม เช่น เห็ด ลูกบอล ก้อนเมฆ รั่ว และบ้านกระดาษ
  5. นำทุกอย่างมาประกอบเข้าด้วยกัน จนออกมาเป็นชิ้นงานสื่อ
สามารถพัฒนาทักษาทั้ง 4 ด้านดังนี้
ด้านร่างกาย                : เด็กได้ใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กในการหยิบจับลูกปิงปอง 
ด้านอารมณ์- จิตใจ    : เด็กได้เล่นและมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
ด้านสังคม                   : เด็กได้สนุกสนาน ฝึกการใช้ทักษะและการควบคุมอารมณ์
ด้านสติปัญญา           : เด็กได้ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เรื่องการคาดคะเน

ประโยชน์จากสื่อ
  1. เด็กเกิดทักษะการคาดคะเนเพื่อเป็นพื้นฐานของเด็กในการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์
  2. เด็กเกิดทักษะทางสังคม  รู้จักแบ่งปัน รู้จักการรอคอย
  3. เด็กเกิดความสนุกสนาน เสริมสร้างจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
สื่อนวัตกรรมชิ้นนี้สร้างโดยยึดแบบเป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วแต่นำมาพัฒนาต่อยอดจากของ ผู้จัดทำเน้นทักษะทางคณิตศาสตร์ เรื่องคาดคะเนและความน่าจะเป็น สามารถนำไปบูรณาการกับรายวิชาวิทยาศาสตร์ได้ในเรื่อง เรื่องโน้มถ่วงและทิศทางได้



วิธีการเล่น


สิ่งที่เรียนรู้
     ได้ความรู้ในการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ให้เด็กปฐมวัย  โดยการใช้ 5 ขั้นตามกระบวนการวิทยาศาสตร์ ได้ศึกษาเรื่องวิทยาศาสตร์ที่มีความหลากหลายรวมทั้งการเลือกเรื่องที่จะนำมาสอนให้เหมาะกับวัยและพัฒนาการของเด็ก ได้ฝึกการดำเนินกิจกรรมการจัดประสบการณ์ตามแผนที่วางไว้ การควบคุมชั้นเรียนตั้งแต่ต้นจนจบ การออกแบบกิจกรรมเขียนแผนการสอน มีการศึกษาค้นคว้าและการใช้สื่อการเรียนการสอนที่มีความหลากหลาย
นำมาประยุกต์ใช้
นำกระบวนการต่างๆที่ได้เรียนมาเป็นแนวทางการออกแบบกิจกรรมการสอนให้เด็กและเรื่องที่ทำการทดลองสามารถนำไปจัดกิจกกรรมทางวิทยาศาตร์ให้เด็กได้ในอนาคต พร้อมทั้งการนำเทคนิดวิธีเล็กๆน้อยๆในการควบคุมเด็ก การดำเนินการสอนตามขั้นตอนตั้งแต่ต้นจบจนการทดลอง

Assessment (การประเมิน)
   
      our self  :  มีความรับผิดชอบในการทำงาน 



      Friend  : ทุกคนมีความสามัคคีเอื้อเฟื้อกัน ปรึกษาหารือกันในการทำงาน และมีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย



      Teacher : อาจารย์อธิบายและยกตัวอย่างประกอบในการสอนได้ชัดเจนดี และเปิดโอกาสให้นักษาได้แสคงความคิดเห็น และถามเมื่อไม่เข้าใจ วันนี้อาจารย์ได้มีการสรุปการเรียนการสอนวิชานี้ทั้งหมด และแนะแนวข้อสอบปลายภาคให้กับนักศึกษา


.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น