วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

Diary no.13
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13
การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Provision For Early Childhood
วันศุกร์ที่  9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
เวลา 8.30 - 12.30 น.

 Story of subject (เนื้อหาที่สอน)

 วันนี้อาจารย์ให้ศึกษาข้อมูลความรู้จากคลิปวีดีโอวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความลับของแสง ศึกษาความรู้จากคลิปวีดีโอและตั้งคำถามสนทนาร่วมกัน เพื่อนำความรู้ที่เรียนไปเป็นแนวทางในการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยเรื่องแสง โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 

  • คุณสมบัติของแสง
  • วัตถุที่แสงกระทบ
  • กล้องรูเข็ม
  • การหักเหของแสง
  • การสะท้อนของแสง
  • การเกิดเงา
  • การเกิดรุ้งกินน้ำ
วีดีโอ ความลับของแสง


 ➤ แสง คือ คลื่นพลังงานรูปหนึ่ง เดินทางในรูปคลื่นด้วยอัตราเร็วสูง 300,000 กิโลเมตรต่อวินาที แหล่งกำเนิดแสงมีทั้งแหล่งกำเนิดที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น แสงดวงอาทิตย์ที่เป็นแหล่งพลังงานของสิ่งมีชีวิต แหล่งกำเนินแสงที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น แสงสว่างจากหลอดไฟ เป็นต้น

การเดินทางของแสง
แสง เดินทางเป็นเส้นตรงไม่มีการเปลี่ยนทิศทาง  


วัตถุการส่องผ่านของแสง
💥 วัตถุโปร่งใส คือวัตถุที่ยอมให้แสงส่องทะลุผ่านได้โดยง่าย
💥 วัตถุโปร่งแสง คือวัตถุที่ยอมให้แสงผ่านไปได้เพียงบางส่วน
💥 วัตถุทึบแสง คือวัตถุที่ไม่ยอมให้แสงผ่านไปได้เลย

การนำแสงไปใช้ประโยชน์
1) ประโยชน์จากแสงทางตรง   เช่น  การทำนาเกลือ  การทำอาหารตากแห้ง  การตากผ้า  การฆ่าเชื้อโรคในน้ำดื่ม ต้องอาศัยความร้อนจากแสงอาทิตย์  การแสดงหนังตะลุง และภาพยนตร์ ต้องใช้แสงเพื่อทำให้เกิดเงาบนจอ  การมองเห็นก็ถือเป็นการใช้ประโยชน์จากแสงทางตรง
2) ประโยชน์จากแสงทางอ้อม   เช่น ทำให้เกิดวัฏจักรของน้ำ  (การเกิดฝน)  พืชและสัตว์ที่เรารับประทาน ก็ได้รับการถ่ายทอดพลังงานมาจากแสงอาทิตย์

กล้องรูเข็ม
อุปกรณ์ที่ใช้บันทึกภาพด้วยการปล่อยให้แสงจากวัตถุฉายผ่านรูขนาดเล็กให้ตกลงบนแผ่นฟิล์มไวแสง โดยภาพที่ปรากฏบนแผ่นฟิล์มไวแสงจะเป็นภาพกลับหัวของวัตถุจริง
ภาพกลับหัวเพราะแสงเดินทางเป็นเส้นตรง แสงส่วนบนของภาพกระทบลงส่วนล่าง แสงของส่วนล่างกระทบไปยังส่วนบนตาของเราเองก็มองภาพกลับหัว แต่สมองนำมาประมวลผลกลับด้านให้ปกติตามอัตโนมัติ

การสะท้อนของแสง
การสะท้อนแสงเป็นปรากฏการณ์ที่แสงตกกระทบกับตัวกลาง แล้วสะท้อนกลับสู่ตัวกลางเดิม ซึ่งปริมาณและทิศทางของการสะท้อนของแสงขึ้นอยู่กับพื้นผิวของตัวกลางที่ตกกระทบ


เงาในกระจกเกิดจากการสะท้อนของแสง ภาพมีเยอะขึ้นเนุื่องจากมุมในกระจกยิ่งแคบภาพยิ่งมากขึ้นเพราะเกิดการสะท้อนกลับไปกลับมา

กล้องคาไลโดสโคป
 แสงจะผ่านวัตถุที่ใส่ไว้ และสะท้อนกระจกเงาด้านในกลับไปกลับมาหลายครั้ง เกิดเป็นลวดลายที่สวยงาม โดยลวดลายจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ เมื่อเขย่ากล้อง


กล้องเพอริสโคป
เกิดจากการสะท้อนแสง  เมื่อแสงตกกระทบวัตถุ แสงจะสะท้อนเข้าสู่นัยน์ตา โดยแสงตกกระทบที่กระจกซึ่งติดตั้งให้เอียงทำามุม 45 องศา แล้วจะสะท้อนทำามุม 90 องศา ไปตกกระทบกับกระจกอีกบานหนึ่งที่เอียงทำมุม 45 องศาในระดับสายตา และสะท้อนเข้าตาทำให้เรามองเห็นภาพวัตถุที่เหนือกว่าระดับสายตาได้  โดยมีทิศทางเดียวกับภาพจริง

การหักเหของแสง
เกิดจากการที่แสงเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางที่มีความหนาแน่นต่างกัน เป็นผลทำให้ทิศทางของแสงเปลี่ยนแปลงไปด้วย ซึ่งในขณะที่แสงเกิดการหักเหก็จะเกิดการสะท้อนของแสงขึ้นพร้อมๆ กันด้วย 
 นอกจากนี้การหักเหของแสงทำให้เห็นภาพชัดเจนและรุ้งกินน้ำ
      แว่นขยาย การหักเหแสงผ่านเลนส์นูน อัน โดยวางวัตถุไว้หน้าเลนส์ให้ระยะวัตถุน้อยกว่าความยาวโฟกัส เกิดการหักเหของแสงและกระจายออกทำให้มองภาพด้านหลังเลนส์จะเห็นภาพเสมือน  ขนาดใหญ่กว่าวัตถุ 













เลนส์นูน แผ่นแก้วโค้งนูนใช้รวมเส้นทางเดินของแสง ทำให้เกิดการเผาไหม้สามารถนำหลักการนี้ไปทดลองในการจุดไปได้ ดวงอาทิตย์เป็นต้นกำเนิดของแสง เอาเลนส์รวมแสงเป็นจุดเดียวกันทำให้เกิดความร้อน
    รุ้งกินน้ำ
💛เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นหลังจากฝนตก โดยเกิดขึ้นจากแสงแดดส่องผ่านละอองน้ำในอากาศ ทำให้แสงสีต่าง ๆ เกิดการหักเหขึ้น จึงเห็นเป็นแถบสีต่าง ๆ ปรากฏขึ้นบนท้องฟ้า 
รุ้งประกอบด้วย 7 สี คือ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง 
  แสงที่เกิดเป็นรุ้งนั้นคือแสงขาว และเกิดการหักเหจนเกิดเป็นแถบสี 7 แถบ โดยสีม่วงจะมีการหักเหมากที่สุด สีแดงมีการหักเหน้อยที่สุด
➤  เงา
   เป็นสิ่งตรงกันข้ามกับแสง การเกิดเงา ทันทีที่เราส่องแสงไปยังวัตถุจะเกิดเงา เพราะเงาของวัตถุเกิดจากแสงเดินทางไปเป็นเส้นตรงเมื่อมีวัตถุขวางทำให้เกิดเงา








Skills  (ทักษะ)
     ได้ความรู้เรื่องแสงและเงา การเกิดรุ้งกินน้ำ ได้พัฒนาทักษะการฟังและการจดสรุปเพื่อนำมาใส่ใน Blog ของตนเอง และสามารถนำความรู้ที่ได้เรียนไปใช้ประโยชน์ในวิชาที่เรียนในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งวิชาอื่นๆ ต่อไปได้

Apply  (การนำมาประยุกต์ใช้)
   สามารถนำความรู้เรื่องแสงที่ได้เรียนไปเป็นแนวทางในการคิดและวางแผนการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กได้ ในวีดีโอจะมีตัวอย่างการทดลองมากมาย เช่น การทดลองการสร้างรุ้งกินน้ำ การทดลองการเดินทางของแสง เราสามารถนำไปประยุกต์สร้างสื่อต่าง ๆ ในการสอนเด็ก การทำกล้องเพอริสโคป การทดลองการรวมแสงของเลนส์นูน ซึ่งถือว่าเป็นประโยชน์มาก ๆ
      
Technique  (เทคนิคที่อาจารย์ใช้สอน)
   อาจารย์มีเทคนิคและวิธีในการนำเข้าสู่บทเรียนที่ตื่นเต้นและเร้าความสนใจ อย่างวีดีโอที่นำมาเปิดจะมีความยาวมาก แต่อาจารย์จะมีการเพิ่มเติมจากคลิปและอธิบายเนื้อส่วนที่เร็วทำให้นักศึกไม่เข้าใจ อาจารย์ก็จะมีการอธิบายเพิ่มเติมและใช้คำถามกระตุ้นการฟังและเร้าความสนใจอยู่เรื่อย ๆ
     
               ➤➤➤➤➤➤➤     Assessment (การประเมิน)    ➤➤➤➤➤➤➤    

 our self :   เข้าเรียนตรงเวลาและตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายการสอนและดูวีดีโออย่างตั้งใจ

Friend  :   เพื่อนๆตั้งใจเรียน และจดสรุปงานของตนเอง มีความร่วมมือในการตอบคำถาม

Teacher :   อาจารย์มีการอธิบายเพิ่มเติมจากคลิปที่ดูตลอด เนื่องจากบางทีนักศึกษาอาจจะฟังไม่ทันและเป็นการกระตุ้นให้นักศึกษาตั้งใจฟัง

Classroom  :  บรรยากาศในห้องเรียนสนุกสนาน เย็นสบาย อาจารย์มีความเป็นกันเองและรับฟังทุกความคิดเห็นของนักศึกษา



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น