Diary no.14
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14
การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Provision for Early Childhood
วันที่ศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
เวลา 8.30 - 12.30 น.
ด้านร่างกาย -สัตว์ที่พบในฤดูฝน
-การฟังนิทาน เรื่องราว
ด้านร่างกาย - การดูแลสุขภาพและปฏิบัติตนขณะฝนตก
-การฟังเรื่องราว เหตุการณ์ เกี่ยวกับการป้องกันและรักษาความปลอดภัย
ด้านอารมณ์-จิตใจ
-การพูดสะท้อนความรู้สึกของตนเองและผู้อื่น
ด้านสังคม
-การสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
ด้านสติปัญญา
-การฟังและการปฏิบัติตามคำแนะนำ
-การพูดแสดงความคิดเห็นและประสบการณ์ของตน
ขั้นสรุป
3.ครูและเด็กร่วมกันสรุปกิจกรรม
สื่อการเรียนรู้
การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Provision for Early Childhood
วันที่ศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
เวลา 8.30 - 12.30 น.
Story of subject (เนื้อหาที่สอน)
อาจารย์ได้มอบหมายงานต่อจากสัปดาห์ที่แล้วคือให้ทำแผนการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ให้กับเด็ก โดยคิดหัวข้อเรื่องและรายละเอียดในเรื่องนั้น ๆ ว่าต้องการสอนอะไร และมีเนื้อหาอะไรบ้าง
ทำเป็น mind map ใส่กระดาษมาส่งในคาบ หลังจากนั้นอาจารย์ก็ได้ให้คำแนะนำปรับบางหัวข้อและการเขียน mind map ให้มีความสวยงาม
1.แผนที่ทำส่งในห้องเรียน เรื่อง วัฏจักรของน้ำ
2. แผ่นที่ 2 หลังจากที่ได้คำรับแนะนำจากอาจารย์และได้นำมาปรับแก้ไขให้ดีขึ้นโดยใช้โปรแกรม ED raw Mind Map
💚💚💚💚 จากนั้นให้จับกลุ่มกลุ่มละ 5 คน และช่วยกันคิดเลือกเรื่องในกลุ่มของตนเองที่นักศึกษาคิดว่าดีและเข้าใจง่ายที่สุดมา 1 เรื่อง เพื่อที่จะนำมาเขียนแผนการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ให้กับเด็ก โดยการเขียนแผน 5 วัน และช่วยกันคิดกิจกรรมการสอนแต่ละวันให้มีวัตถุประสงค์ สาระการเรียนรู้ ขั้นนำ ขั้นดำเนินการสอน ขั้นสรุป และการประเมินผลที่ชัดเจนและสอดคล้องกัน
เรื่องที่เลือกคือ เรื่องฝน
แผนการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กฐมวัย เรื่องฝน 💧💧💧
แผนที่ 1 เรื่อง การเกิดฝน
วัตถุประสงค์- เพื่อให้เด็กฟังและสนทนาโต้ตอบได้
- เพื่อให้เด็กปฏิบัติตามข้อตกลงได้
- เพื่อให้เด็กบอกการเกิดฝนได้
สาระการเรียนรู้
ประสบการณ์สำคัญ สาระที่ควรเรียนรู้
ด้านร่างกาย - การเกิดฝน
-การเคลื่อนไหวอยู่กับที่
ด้านอารมณ์- จิตใต
-การร่วมสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
-การปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ตามความสามารถของตนเอง
ด้านสังคม
-การร่วมกำหนดข้อตกลงของห้องเรียน
-การปฏิบัติตนเป็นสมชิกที่ดีของห้อง
-การร่วมสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
-การทำงานร่วมกับผู้อื่น
ด้านสติปัญญา
-การสังเกต
กิจกกรมการเรียนรู้
ขั้นนำ
1.เด็กท่องคำคล้องจอง "ฝนตก" และสนทนาเกี่ยวกับการเกิดฝน ถามเด็กๆว่า "เด็กๆคิดว่าฝนเกิดขึ้นได้อย่างไร"
ขั้นดำเนินการ
2.นำแก้วใส่น้ำร้อนมาวางไว้บนโต๊ะ ถามเด็กๆว่า " น้ำในแก้วที่เด็กๆเห็นเป็นน้ำร้อนหรือน้ำเย็น"
2.1 นำแผ่นพลาสติกวางบนปากแก้วน้ำร้อน ให้เด็กๆสังเกต ถามเด็กว่า "มีอะไรลอยขึ้นจากน้ำในแก้ว"
2.2 ให้เด็กๆ สังเกตไอน้ำที่ลอยขึ้นมาจนกลายเป็นหยดน้ำ ถามเด็กๆว่า"หยดน้ำที่เด็กๆ เห็นเหมือนกับอะไร"
2.1 นำแผ่นพลาสติกวางบนปากแก้วน้ำร้อน ให้เด็กๆสังเกต ถามเด็กว่า "มีอะไรลอยขึ้นจากน้ำในแก้ว"
2.2 ให้เด็กๆ สังเกตไอน้ำที่ลอยขึ้นมาจนกลายเป็นหยดน้ำ ถามเด็กๆว่า"หยดน้ำที่เด็กๆ เห็นเหมือนกับอะไร"
ขั้นสรุป
3 ครูนำภาพการเกิดฝนสนทนากับเด็กๆ ครูร่วมกับเด็กสรุปการเกิดฝน
สื่อการเรียนรู้
- แก้วใส่น้ำร้อน
- แผ่นพลาสติก
- บัตรภาพการเกิดฝน
- แผนภูมิคำคล้องจอง
- การฟังและสนทนาโต้ตอบ
- ปฏิบัติตามข้อตกลง
- บอกการเกิดฝน
แผนที่ 2 เรื่อง ของใช้และเครื่องแต่งการในฤดูฝน
วัตถุประสงค์
ด้านร่างกาย - เครื่องแต่งกายและของใช้ในฤดูฝน
- การเคลื่อนไหวใช้การประสานสัมพันธ์ของการใช้
กล้ามเนื้อมัดเล็กในการจับ
ด้านอารมณ์- จิตใจ
-การพูดสะท้อนความรู้สึกของตนเอง
ด้านสังคม
-การร่วมสนทนาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
-การเล่นและการทำงานร่วมกับผู้อื่่น
ด้านสติปัญญา
-การพูดเกี่ยวกับประสบการณ์ของตนเอง
-การรอจังหวะที่เหมาะสม
กิจกรรมการเรียนรู้
- เพื่อให้เด็กฟังและสนทนาโต้ตอบได้
- เพื่อให้เด็กบอกชื่อของใช้และเครื่องแต่งกายฤดูฝนได้
- เพื่อให้เด็กเสนอความคิดเห็นและฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
สาระการเรียนรู้
ประสบการณ์สำคัญ สาระที่ควรเรียนรู้ ด้านร่างกาย - เครื่องแต่งกายและของใช้ในฤดูฝน
- การเคลื่อนไหวใช้การประสานสัมพันธ์ของการใช้
กล้ามเนื้อมัดเล็กในการจับ
ด้านอารมณ์- จิตใจ
-การพูดสะท้อนความรู้สึกของตนเอง
ด้านสังคม
-การร่วมสนทนาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
-การเล่นและการทำงานร่วมกับผู้อื่่น
ด้านสติปัญญา
-การพูดเกี่ยวกับประสบการณ์ของตนเอง
-การรอจังหวะที่เหมาะสม
กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำ
1.ครูและเด็กร่วมกันสนทนาระดมความคิด เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่องเครื่องแต่งกายในฤดูฝนโดยถามเด็กๆว่า "เด็กๆรู้ไหมว่าฤดูฝนมีของใช้อะไรบ้าง เด็กๆรู้ไหมว่าฤดูฝนควรแ่งกายอย่างไร "
ขั้นดำเนินการ
2.ครูให้เด็กเล่าประสบการณ์ของตนเองเกี่ยวกับการใช้ของใช้ในฤดูฝน
3.ครูนำของใช้ในฤดูฝนมาให้เด็กดูและช่วยกันบอกชื่อของแต่ละชิ้น
4.ตัวแทนเด็กออกมาสาธิตการใช้ของใช้ในฤดูฝนให้เพื่อนดู
ขั้นสรุป
5.ครูและเด็กสนทนาร่วมกันและสรุปกิจกรรมเครื่องแต่งกายและของใช้ในฤดูฝน
สื่อการเรียนรู้
- ชุดกันฝน
- ร่ม
- รองเท้าบูธ
- หมวก
- สังเกตจากการฟังและสนทนาโต้ตอบ
- สังเกตจากการบอกชื่อของใช้และเครื่องแต่งกายในฤดูฝน
- สังเกตจากการเสนอแสดงความคิดเห็นและังความคิดเห็นของผู้อื่น
แผนที่ 3 เรื่อง สัตว์ในฤดูฝน
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้เด็กบอกชื่อสัตว์ที่พบในฤดูฝน
- เพื่อให้เด็กฟังและสนทนาโต้ตอบได้
- เพื่อให้เด็กเสนอแสดงความคิดเห็นและฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
สาระการเรียนรู้
ประสบการณ์สำคัญ สาระที่ควรเรียนรู้ ด้านร่างกาย -สัตว์ที่พบในฤดูฝน
-การฟังนิทาน เรื่องราว
การหยิบจับ
ด้านอารมณ์- จิตใจ
-การร่วมสนทนาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเชิงจริยธรรม
ด้านสังคม
-การเล่นและการทำงานร่วมกับผู้อื่น
-การมีส่วนร่วมในการเลือกวิธีการแก้ปัญหา
-การฟังนิทานหรือเรื่องราวต่างๆ
-การอ่านหนังือภาพหรือนิทาน หลากหลายประเภท
กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำ
1.ครูและเด็กร่วมกันเล่านิทาน
ขั้นดำเนินการสอน
2.ครูนำภาพสัตว์ที่มักพบในฤดูฝนมาให้เด็กดูแล้วสนทนา
3.ครูติดภาพบนกระดานแล้วให้เด็กอ่านชื่อสัตว์ตามครูทั้งคำศัพท์ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
ขั้นสรุป
4.ครูและเด็กร่วมกันสรุปเรื่องสัตว์ที่พบในฤดูฝน
สื่อการเรียนรู้
- บัตรภาพ
- นิทาน
การประเมิน
- สังเกตจากบอกชื่อสัตว์ที่พบในฤดูฝน
- สังเกตจากการฟังและสนทนาโต้ตอบ
- สังเกตจากเสนอแสดงความคิดเห็นและฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
แผนที่ 4 เรื่อง การดูแลตนเองขณะฝนตก
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้เด็กฟังและสนทนาโต้ตอบได้
- เพื่อให้เด็กปฏิบัติตามข้อตกลงได้
- เพื่อให้เด็กบอกวิธีการดูแลตนเองขณะฝนตกได้
สาระการเรียนรู้
ประสบการณ์สำคัญ สาระที่ควรเรียนรู้ ด้านร่างกาย - การดูแลสุขภาพและปฏิบัติตนขณะฝนตก
-การฟังเรื่องราว เหตุการณ์ เกี่ยวกับการป้องกันและรักษาความปลอดภัย
ด้านอารมณ์-จิตใจ
-การพูดสะท้อนความรู้สึกของตนเองและผู้อื่น
ด้านสังคม
-การสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
ด้านสติปัญญา
-การฟังและการปฏิบัติตามคำแนะนำ
-การพูดแสดงความคิดเห็นและประสบการณ์ของตน
กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำ
1.ครูและเด็กร่วมกัันสนทนาภาพเกี่ยวกับการดูแลตนเองขณะเกิดฝนตก โดยใช้คำถามว่า "เด็กๆเห็นอะไรในภาพ"
ขั้นดำเนินการสอน
2.ครูและเด็กร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนถึงการดูแลตนเองขณะเกิดฝนตก "หากเราเปียกฝนแล้วจะเป็นอย่างไร " (ไข้หวัด) "หากเด็กๆเล่นอยู่แล้วฝนกำลังตกเด็กๆจะทำอย่างไร"ขั้นสรุป
3.ครูและเด็กร่วมกันสรุปกิจกรรม
สื่อการเรียนรู้
- บัตรภาพ
- สังเกตจากการฟังและสนทนาโต้ตอบ
- สังเกตจากการปฏิบัติตามข้อตกลง
- สังเกตจากการบอกวิธีดูแลตนเองขณะฝนตก
แผนที่ 5 ข้อควรระวัง/โทษของฝน
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้เด็กฟังและสนทนาโต้ตอบได้
- เพื่อให้เด็กบอกประโยชน์ของฝนได้
- เพื่อให้เด็กบอกโทษของฝนได้
- เพื่อให้เด็กเสนอความคิดเห็นและฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
สาระการเรียนรู้
ประสบการณ์สำคัญ สาระที่ควรเรียนรู้
ด้านร่างกาย - ประโยชน์และโทษของฝน
- การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กหยิบจับสิ่งต่างๆ
ด้านอารมณ์จิตใจ
-การพูดสะท้อนความรู้สึกของตนเองและผู้อื่น
ด้านสังคม
-การให้ความร่วมมือในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ
-การเล่นและการทำงานร่วมกับผู้อื่น
ด้านสติปัญญา
-การฟังและการปฏิบัติตามคำสั้ง
-การรวมและแยกสิ่งต่างๆ
-การคัดแยก จัดกลุ่ม และการจำแนกสิ่งต่างๆ
กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำ
1.ครูและเด็กร่วมกันสนทนาถึงประโยชน์และโทษของฝน โดยการใช้คำถามว่า 1) เด็กๆรู้ไหมว่าน้ำฝนมีประโยชน์อย่างไร 2) เด็กๆรู้ไหมว่าน้ำฝนสามารถนำไปทำอะไรได้บ้าง 3) เด็กรู้ไหมว่าน้ำฝนมีโทษอย่างไร
ขั้นดำเนินการสอน
2.ครูนำภาพประโยชน์และโทษของฝนมาให้เด็กดูแล้วสนทนา ประโยชน์ขอลฝนมีอะไรบ้าง และโทษของฝนมีอะไรบ้าง
3.เด็กๆช่วยกันแยกภาพประโยชน์และโทษของน้ำฝน
ขั้นสรุป
4.ครูและเด็กร่วมกันสนทนาและสรุปประโยชน์และโทษของฝน
สื่อการเรียนรู้
- บัตรภาพ
การประเมิน
- สังเกตจากการฟังและสนทนาโต้ตอบ
- สังเกตจากการบอกประโยชน์ของฝน
- สังเกตจากการบอกโทษของฝน
- สังเกตจากการเสนอความคิดเห็นและฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
Skills (ทักษะ)
ทักษะการคิดและการวางแผน การเลือกหัวข้อเรื่อง วางแผนกิจกรรมให้สอดคล้องกัน การทำงานกลุ่ม และทักษะความคิดสร้างสรรค์ในการทำ mind map ให้สวยงาม รวมทั้งทักษะในการใช้เทคโนโลยีให้การสร้าง mind map ให้สวยงามและมีความเป็นระเบียบ
Apply (การนำมาประยุกต์ใช้)
เรียนรู้กระบวนการคิดและการวางแผนอย่างเป็นระบบในการจัดทำแผนประสบการณ์ ศึกษาจากจัดประสบการณ์การเรียนรู้จาก 6 กิจกรรมและได้รู้จักกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อใช้เป็นแนวทางในการทำแผนครั้งต่อไป นอกจากนั้นแผนการจัดประสบการณ์ที่ช่วยกันคิดยังสามารถนำไปใช้ทดลองสอนกับเด็กได้
Technique (เทคนิคที่อาจารย์ใช้สอน)
อาจารย์ได้ให้คำแนะนำและเป็นที่ปรึกษาที่ดี ได้มีการใช้สื่อและวิธีการสอนที่มีความหลากหลาย
Assessment (การประเมิน)
our self : เข้าเรียนตรงเวลา ให้ความร่วมมือกับเพื่อนในการคิดและการทำงาน
Friend : ทุกคนตั้งใจฟังอาจารย์ และตั้งใจทำงานทั้งงานเดี่ยวของตนเองและงานกลุ่ม มีความสามัคคีปรึกษาหารือพูดคุยกัน และมีความพยายามแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆให้ดีขึ้น
Teacher : อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา ให้คำแนะนำดีเข้าใจง่ายและดูแลให้คำปรึกษาอย่างทั้วถึงทุกคน
Classroom : บรรยากาศการเรียนดี เพื่อนทุกคนตั้งใจเรียน ไม่ส่งเสียงดัง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น