วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

Diary no.12
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12
การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Provision For Early Childhood
วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
เวลา 8.30 - 12.30 น.

 Story of subject (เนื้อหาที่สอน)

       อาจารย์ได้ตรวจวีดีโอของแต่ละกลุ่มที่ทำการทดลองวิทยาศาสตร์ และได้ให้คำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อผิดพลาดในการนำเสนอ การดำเนินการทดลองตั้งแต่แรกจนถึงจบการทดลองของแต่ละกลุ่ม เพื่อความสัมบูรณ์ในการนำไปจัดกิจกรรมให้กับเด็กในวันจริง
⏩ฐานที่ 1 ติด ดับ จับต่อ   คำแนะนำเพิ่มเติมหาประโยชน์ของฉนวนไฟฟ้า
⏩ฐานที่ 2 ปริศนา ซี โอ ทู คำแนะนำเพิ่มเติม : เขียนตัวหนังสือติดรายการให้มีขนาดเท่ากัน                                                          ปรับการพูดช่วงท้าย และแนะนำรายการอุปกรณ์จากซ้ายไปขวา
⏩ฐานที่ 3 น้ำนิ่งไหลลึก  คำแนะนำเพิ่มเติมควรมีผ้าสำหรับทำความสะอาดมือหลังจากจับวัสดุต่างๆ
⏩ฐานที่ 4 ความลับของสีดำ คำแนะนำเพิ่มเติม :  ควรอธิบายขั้นตอนต่างๆให้มีความชัดเจนมากขึ้น
โครงการวิทยาศาสตร์น่ารู้  4 ฐาน

➦➦➦➦➦➦➦➦➦➦ 
 ฐานที่ 1 ติด ดับ จับต่อ
ปัญหา : กระแสไฟฟ้าไหลผ่านอะไรได้บ้าง
สมมุติฐาน : ถ้าครูนำวัสดุแต่ละอย่างมาเชื่อมต่อในวงจรไฟฟ้า เด็กๆ คิดว่าจะเกิดอะไรขึ้น
วัตถุประสงค์ :   1. เด็กๆ รู้ว่าแหล่งกำเนิดไฟฟ้าคืออะไร

                         2. เด็กสามารถแยกแยะวัสดุที่เป็นตัวนำไฟฟ้าและไม่นำไฟฟ้าได้
ขั้นตอนการทดลอง
1. นำวัสดุที่เป็นตัวนำไฟฟ้าและไม่นำไฟฟ้าใส่รวมกันในตะกร้าใหญ่เพื่อให้เด็กหยิบมาทำการทดลอง
2.นำสายไฟชนิดตัวหนีบปากจระเข้ทั้ง สายมาต่อเข้ากับวงจรไฟฟ้าแล้วตรวจสอบว่าหลอดไฟสว่างหรือไม่
3. แบ่งกลุ่มเด็กออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละเท่าๆกัน ให้เด็กแต่ละคนหยิบวัสดุมาต่อเข้ากับสายหนีบปากจระเข้  คนละ 1 ชิ้น แล้วดูว่าหลอดไฟติดสว่างหรือไม่
4. ถ้าหลอดไฟติด วัสดุนั้นเป็นตัวนำไฟฟ้า แต่ถ้าหลอดไฟไม่ติด วัสดุนั้นจะไม่เป็นตัวนำไฟฟ้า
5. หลังจากการทดลองเสร็จ เด็กๆแยกวัสดุที่นำไฟฟ้าและวัสดุที่ไม่นำไฟฟ้าใส่ตะกร้าใบเล็ก
     ข้อควรรู้ ทำไมเราสามารถจับสายไฟของเครื่องใช้ไฟฟ้าได้โดยที่ไม่ต้องโดนไฟดูด เพราะสายไฟถูกห่อหุ้มด้วยวัสดุที่เป็น ฉนวน ซึ่งไฟฟ้าไหลผ่านไม่ได้ กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านเฉพาะลวดโลหะที่อยู่ภายใน ซึ่งเราไม่ได้สัมผัส 

➦➦➦➦➦➦➦➦➦➦ 
ฐานที่ 2 ปริศนา ซี โอ ทู 
ประเด็นที่อยากรู้ : สิ่งของที่วางอยู่บนโต๊ะ ถ้าเอาน้ำมะนาวผสมเบกกิงโซดา น้ำตาลทราย ผงฟู และเกลือมันจะเกิดปฏิกิริยาอะไรบ้าง
สมมติฐาน :  ถ้าเทน้ำมะนาวลงไปในแก้วทั้ง 4 ใบจะเกิดอะไรขึ้น?
ขั้นตอนการทดลอง
1.ครูให้เด็กตักเบกกิงโซดา น้ำตาลทราย ผงฟู และเกลือแต่ละชนิด ครั้งละ  2 ช้อนใส่ในแก้วพลาสติกใบที่ 1 ,2,3,4 ตามลำดับ
           2.ครูให้เด็กตักน้ำมะนาวจำนวน 3 ช้อนใส่ลงในแก้วใบที่ 1 ที่มี เบกกิงโซดา และสังเกตว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง จากนั้นให้เด็กบันทึก
           3.ครูให้เด็กตักน้ำมะนาวจำนวน 3 ช้อนใส่ลงในแก้วใบที่ 2 ที่มี น้ำตาลทราย และสังเกตว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง จากนั้นให้เด็กบันทึก
         4.ครูให้เด็กตักน้ำมะนาวจำนวน 3 ช้อนใส่ลงในแก้วใบที่ 3 ที่มี ผงฟู และสังเกตว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง จากนั้นให้เด็กบันทึก
5.ครูให้เด็กตักน้ำมะนาวจำนวน 3 ช้อนใส่ลงในแก้วใบที่ 4 ที่มีเกลือ และสังเกตว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง จากนั้นให้เด็กบันทึก
อภิปรายข้อมูล : ผลจากการสังเกต
- แก้วใบที่ 1 และใบที่ 3 มีการละลายและเกิดฟอง
- แก้วใบที่ 2 และใบที่ 4 มีการละลายอย่างเดียว 
สรุปผลการทดลอง
   น้ำมะนาวละลายสารทั้ง 4 ชนิดเป็นไปตามสมมติฐาน และเกิดข้อค้นพบว่าแก้วใบที่ 1 และใบที่ 3 การ
เกิดฟองเพราะน้ำมะนาวเป็นกรดทำปฏิกิริยากับเบกกิงโซดาและผงฟูทำให้เกิดฟองอากาศ ซึ่งอากาศนั้น
คือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

➦➦➦➦➦➦➦➦➦➦ 
ฐานที่ 3 น้ำนิ่งไหลลึก 
ประเด็นที่อยากรู้ : น้ำมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง?
สมมติฐาน
      - ถ้าใส่น้ำในแก้วจะเกิดอะไรขึ้น?
      - ถ้าใส่น้ำในภาชนะต่างกันจะเกิดอะไรขึ้น?
      - ถ้าวางวัตถุบนผิวน้ำจะเกิดอะไรขึ้น?
      - ถ้าหยดน้ำยาล้างจานลงบนผิวน้ำจะเกิดอะไรขึ้น?
      - ถ้านำผักผลไม้มาบีบจะเกิดอะไรขึ้น?
ขั้นตอน
1. เด็กๆรู้จักอะไรบนโต๊ะบ้าง   เด็กๆรู้ไหมว่าแต่ละอย่างสามารถนำไปทำอะไรได้บ้าง
2. เทน้ำจากแก้วใบแรกใส่แก้วใบที่สองสลับกันไปมา
3. เทน้ำใส่ภาชนะที่มีรูปร่างต่างกัน น้ำจะเปลี่ยนรูปร่างตามภาชนะ
4. เทน้ำให้เต็มแก้ว แล้วนำคลิปหนีบกระดาษมาวางบนผิวน้ำ
5. จากนั้นหยดน้ำยาล้างจานบนผิวน้ำ แล้วสังเกตการเปลี่ยนแปลง
6. หลังจากนั้นนำผักผลไม้มาบีบ สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลง
สรุป
- เทน้ำจากแก้วใบแรกใส่แก้วใบที่สองสลับกันไปมา ที่น้ำไหลเป็นเพราะว่าน้ำมีคุณสมบัติเป็นของเหลว
- น้ำเปลี่ยนรูปร่างเพราะภาชนะ
- วางวัตถุบนผิวน้ำแล้วไม่จม เป็นเพราะน้ำมีแรงตึงผิว
- เมื่อบีบผัก และผลไม้แล้วมีน้ำออกมา เพราะน้ำเป็นส่วนประกอบของสิ่งมีชีวิต 
ข้อความรู้
            น้ำเป็นของเหลวชนิดหนึ่งที่มีอยู่มากที่สุดบนผิวโลก เป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำลงชีวิตทุกชนิดที่มนุษย์รู้จัก เราสามารถพบน้ำได้จากหลายๆสถานที่ เช่น ทะเล แม่น้ำ หนอง คลอง บึง อีกทั้งน้ำในหลายๆรูปแบบเช่น น้ำแข็ง หิมะ ฝน และไอน้ำ 

➦➦➦➦➦➦➦➦➦➦ 
ฐานที่ 4 ความลับของสีดำ 
ประเด็นที่อยากรู้  : เพราะอะไรสีดำถึงสามารถละลายน้ำแล้วเกิดเป็นสีต่าง ๆ ขึ้น
สมมติฐาน : ถ้าใช้ปากกาเมจิสีดำ แล้วสังเกตการเปลี่ยนแปลงจะเกิดอะไรขึ้น 
ขั้นตอนการทดลอง
1. ให้เด็ก ๆ เตรียมกระดาษกรองคนล่ะ 2 แผ่น
2. ให้ตัดกระดาษตรงกลางเป็นรูเล็ก ๆ แล้วใช้ปากกาเมจิสีดำวาดลวดลายรอบ ๆ รู
3. นำกระดาษกรองแผ่นที่ 2 ม้วนเป็นแท่ง แล้วสอดเข้าไปตรงกลางของรูกระดาษแผ่นที่ 1
4. นำกระดาษทั้งสองแผ่นลงไปจุ่มในแก้วนำ ให้กระดาษที่วาดรูปอยู่บนขอบแก้ว ส่วนกระดาษที่ม้วนให้จุ่มลงในน้ำ
5. ให้เด็ก ๆ สังเกตการเปลี่ยนแปลงของกระดาษกรองที่น้ำซึมผ่านม้วนกระดาษ
6. หลังจากนั้นนำผักผลไม้มาบีบ สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลง
สรุป ปากกาเมจิสีดำพอหยดน้ำไปแล้ว สังเกตเปลี่ยนแปลงจะมีสีต่าง ๆ เกิดขึ้น เพราะว่าสีดำของปากกาเมจิเกิดจากสีต่าง ๆ รวมกันแล้วเป็นสีดำ

การทดลองปริศนา ซีโอทู

สมาชิกในกลุ่ม 
1.นางสาวณัฐธิดา ธรรมแท้  2. นางสาวปวีณา  พันธ์กุล   3.นางสาวบงกชกมล  ยังโยมร 
4.นางสาวอุไรพร  พวกดี  5. นางสาวสุภาวดี  ปานสุวรรณ์

ภาพกิจกรรมโครงการวิทยาศาสตร์น่ารู้  



Skills  (ทักษะ)
     การนำกระบวนทางวิทยาศาสตร์ 5 ขั้น มาใช้ในการตั้งคำถามเพื่อดำเนินการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ให้กับเด็ก ๆ มีความสามัคคีการทำงานร่วมกันและเกิดทักษะการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ควบคุมสถานการณ์ต่าง ๆ และได้รู้ถึงข้อบกพร่องของตัวเองในการลงปฏิบัติกับเด็ก ๆ แล้วสามารถนำข้อบกพร่องมาปรับปรุงแก้ไขเพื่อการจัดกิจกรรมครั้งต่อไป

Apply  (การนำมาประยุกต์ใช้)
      ได้ช่วยกันเขียนโครงการวิทยาศาสตร์และช่วยกันปรับแก้ไขให้เกิดความสมบูรณ์ที่สุด ได้นำโครงการที่ทำร่วมกันสู่การปฏิบัติจริง โดยการจัดกิจกรรมเป็นฐานวิทยาศาสตร์ มีทั้งหมด 4 ฐาน รู้จุดอ่อนจุดแข็งของตนเองและนำมาพัฒนาต่อไป เช่น การควบคุมเด็ก เรื่องการแบ่งเวลาในแต่ละฐาน และเรื่องเสียงควรเลือกจัดในที่กลางแจ้งปลอดโปร่งเพื่อที่เสียงจะได้ไม่ก้อง 

Technique  (เทคนิคที่อาจารย์ใช้สอน) 
     เปิดวีดีโอการนำจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ การอธิบายข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขโครงการ


                         💛💛💛💛💛💛   Assessment (การประเมิน)   💛💛💛💛💛💛

 our self :   ตั้งใจทำงาน และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี

Friend  :    เพื่อนๆ ทุกคนตั้งใจทำงานและปฏิบัติกิจกรรมร่วมกับเด็กน้องๆ ถึงจะมีความวุ่นวายนิดหน่อยแต่ทุกคนก็ร่วมด้วยช่วยกันแก้ไขและควบคุมสถานการณ์ได้ดี

Teacher :  หลังจากที่ดูคลิปการนำเสนอ อาจารย์จะให้คำแนะนำเพิ่มเติม และในวันจัดกิจกรรมอาจารย์ได้แนะนำดูแลแต่ละฐานอย่างใกล้ชิด


Classroom  :  บรรยากาศการเรียนดี สนุกสนาน







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น