วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

สรุปวิจัย
      ผลการจัดการเรียนรู้เรื่องสีธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ปริญญานิพนธ์ของ ยุพาภรณ์ ชูสาย ปี 2555
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีธรรมชาติของเด็กปฐมวัยที่มีต่อทักษะพื้นฐาน
ทางวิทยาศาตร์
2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กิจกรรมเรื่องสีธรรมชาติก่อนและหลังการทดลอง

ความสำคัญของการวิจัย
   ผลการวิจัยในครั้งนี้จะเป็นแนวทางสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ นำไปประยุก์ใช้ในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ตัวแปรที่ศึกษา
ตัวแปรต้น : การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีธรรมชาติ
ตัวแปรตาม : ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ 4 ทักษะ ได้แก่
    1.ทักษะการสังเกต
    2.ทักษะการจำแนกประเภท
    3.ทักษะการหามิติสัมพันธ์
    4.ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล

ขอบเขตการวิจัย
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ เด็กปฐมวัย ชาย-หญิง อายุ 5-6 ปี ศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554  โรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) สังกัดเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 30 คน

  ตัวอย่างแผนการจัดกิจกรรมในวิจัย
ยกตัวอย่างประกอบ 1 แผน 
ตัวอย่างแบบวัดทักษะวิทยาศาสตร์ 


ผลการวิจัย
       ก่อนใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติ เด็กปฐมวัยกลุ่มตัวอย่างมีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับปานกลางทั้งโดยรวมและจำแนกรายทักษะ หลังการใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติเด็กปฐมวัยกลุ่มตัวอย่างมีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ทั้งโดยรวมและจำแนกรายทักษะอยู่ในระดับมากที่สุด


วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

Diary no.15

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15
การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Provision for Early Childhood 
วันที่ศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
เวลา 8.30 - 12.30 น

Story of subject (เนื้อหาที่สอน)
      วันนี้เป็นวันสุดท้ายของการเรียนการสอนวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย อาจารย์ได้สรุปการเรียนที่เรียนมาตลอดทั้งเทอม การจัดทำแผนการทำ blog รวมทั้งอาจารย์ได้บอกแนวข้อสอบปลายภาค และสุดท้ายอาจารย์ได้มอบหมายงานให้ทุกกลุ่มที่ไปจัดโครงการวิทยาศาสตร์น่ารู้ที่โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ทำคลิปวีดีโอโดยใช้โปรมแกรม Biteable ส่วนสำคัญที่ต้องใส่ในวีดีโอคือ แนะนำและสรุปฐานต่างๆ และงานกลุ่มอย่างที่สองคือนำสื่อวิชานวัตกรรมมาเชื่อมโยงกับวิทยาศาสตร์ สื่อที่จัดทำขึ้นมาเด็กได้เรื่องของวิทยาศาสตร์อย่างไร

  โครงการวิทยาศาสตร์น่ารู้ ฐานที่ 1 ปริศนา ซีโอทู 



ปิ๊งป่อง ลูกบอลแสนสนุก


ขั้นตอนการสร้าง
  1. ปรึกษาและช่วยกันตัดสินใจเลือกชิ้นงานที่จะจัดทำขึ้น
  2. วางแผนงานโดยการแบ่งหน้าที่กันอย่างชัดเจน
  3. ช่วยกันทำชิ้นงานออกมาจนสำเร็จ

ขั้นตอนการทำ
  1.  นำกระดาษลูกฟูกมาต่อเข้าด้วยกันและใช้กาวร้อนมาเชื่อมกระดาษลูกฟูกเพื่อเป็นฐานให้กล่องกระดาษลูกฟูกสามารถตั้งได้
  2. นำแกนทิชชูมาตัดเป็นครึ่งวงกลมและใช้กระดาษมาติดทับหลังจากนั้นนำไปติดกับแผ่นกระดาษลูกฟูก
  3. ม้วนกระดาษแข็งให้เป็นวงกลม และใช้กาวร้อนติดเข้ากับแผ่นกระดาษลูกฟูก
  4. ทำอุปกรณ์ตกแต่งกับสื่อนวัตกรรม เช่น เห็ด ลูกบอล ก้อนเมฆ รั่ว และบ้านกระดาษ
  5. นำทุกอย่างมาประกอบเข้าด้วยกัน จนออกมาเป็นชิ้นงานสื่อ
สามารถพัฒนาทักษาทั้ง 4 ด้านดังนี้
ด้านร่างกาย                : เด็กได้ใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กในการหยิบจับลูกปิงปอง 
ด้านอารมณ์- จิตใจ    : เด็กได้เล่นและมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
ด้านสังคม                   : เด็กได้สนุกสนาน ฝึกการใช้ทักษะและการควบคุมอารมณ์
ด้านสติปัญญา           : เด็กได้ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เรื่องการคาดคะเน

ประโยชน์จากสื่อ
  1. เด็กเกิดทักษะการคาดคะเนเพื่อเป็นพื้นฐานของเด็กในการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์
  2. เด็กเกิดทักษะทางสังคม  รู้จักแบ่งปัน รู้จักการรอคอย
  3. เด็กเกิดความสนุกสนาน เสริมสร้างจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
สื่อนวัตกรรมชิ้นนี้สร้างโดยยึดแบบเป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วแต่นำมาพัฒนาต่อยอดจากของ ผู้จัดทำเน้นทักษะทางคณิตศาสตร์ เรื่องคาดคะเนและความน่าจะเป็น สามารถนำไปบูรณาการกับรายวิชาวิทยาศาสตร์ได้ในเรื่อง เรื่องโน้มถ่วงและทิศทางได้



วิธีการเล่น


สิ่งที่เรียนรู้
     ได้ความรู้ในการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ให้เด็กปฐมวัย  โดยการใช้ 5 ขั้นตามกระบวนการวิทยาศาสตร์ ได้ศึกษาเรื่องวิทยาศาสตร์ที่มีความหลากหลายรวมทั้งการเลือกเรื่องที่จะนำมาสอนให้เหมาะกับวัยและพัฒนาการของเด็ก ได้ฝึกการดำเนินกิจกรรมการจัดประสบการณ์ตามแผนที่วางไว้ การควบคุมชั้นเรียนตั้งแต่ต้นจนจบ การออกแบบกิจกรรมเขียนแผนการสอน มีการศึกษาค้นคว้าและการใช้สื่อการเรียนการสอนที่มีความหลากหลาย
นำมาประยุกต์ใช้
นำกระบวนการต่างๆที่ได้เรียนมาเป็นแนวทางการออกแบบกิจกรรมการสอนให้เด็กและเรื่องที่ทำการทดลองสามารถนำไปจัดกิจกกรรมทางวิทยาศาตร์ให้เด็กได้ในอนาคต พร้อมทั้งการนำเทคนิดวิธีเล็กๆน้อยๆในการควบคุมเด็ก การดำเนินการสอนตามขั้นตอนตั้งแต่ต้นจบจนการทดลอง

Assessment (การประเมิน)
   
      our self  :  มีความรับผิดชอบในการทำงาน 



      Friend  : ทุกคนมีความสามัคคีเอื้อเฟื้อกัน ปรึกษาหารือกันในการทำงาน และมีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย



      Teacher : อาจารย์อธิบายและยกตัวอย่างประกอบในการสอนได้ชัดเจนดี และเปิดโอกาสให้นักษาได้แสคงความคิดเห็น และถามเมื่อไม่เข้าใจ วันนี้อาจารย์ได้มีการสรุปการเรียนการสอนวิชานี้ทั้งหมด และแนะแนวข้อสอบปลายภาคให้กับนักศึกษา


.

Diary no.14

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14
การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Provision for Early Childhood 
วันที่ศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
เวลา 8.30 - 12.30 น
.



Story of subject (เนื้อหาที่สอน)
     อาจารย์ได้มอบหมายงานต่อจากสัปดาห์ที่แล้วคือให้ทำแผนการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ให้กับเด็ก โดยคิดหัวข้อเรื่องและรายละเอียดในเรื่องนั้น ๆ ว่าต้องการสอนอะไร และมีเนื้อหาอะไรบ้าง 
ทำเป็น mind map ใส่กระดาษมาส่งในคาบ หลังจากนั้นอาจารย์ก็ได้ให้คำแนะนำปรับบางหัวข้อและการเขียน mind map ให้มีความสวยงาม

1.แผนที่ทำส่งในห้องเรียน เรื่อง วัฏจักรของน้ำ

2. แผ่นที่ 2 หลังจากที่ได้คำรับแนะนำจากอาจารย์และได้นำมาปรับแก้ไขให้ดีขึ้นโดยใช้โปรแกรม ED raw Mind Map

      💚💚💚💚  จากนั้นให้จับกลุ่มกลุ่มละ 5 คน และช่วยกันคิดเลือกเรื่องในกลุ่มของตนเองที่นักศึกษาคิดว่าดีและเข้าใจง่ายที่สุดมา 1 เรื่อง เพื่อที่จะนำมาเขียนแผนการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ให้กับเด็ก โดยการเขียนแผน 5 วัน และช่วยกันคิดกิจกรรมการสอนแต่ละวันให้มีวัตถุประสงค์ สาระการเรียนรู้ ขั้นนำ ขั้นดำเนินการสอน ขั้นสรุป และการประเมินผลที่ชัดเจนและสอดคล้องกัน
    เรื่องที่เลือกคือ เรื่องฝน



แผนการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กฐมวัย เรื่องฝน 💧💧💧

แผนที่ 1 เรื่อง การเกิดฝน

วัตถุประสงค์

  1.  เพื่อให้เด็กฟังและสนทนาโต้ตอบได้
  2.  เพื่อให้เด็กปฏิบัติตามข้อตกลงได้
  3.  เพื่อให้เด็กบอกการเกิดฝนได้

   สาระการเรียนรู้
        ประสบการณ์สำคัญ                                                                         สาระที่ควรเรียนรู้ 
   ด้านร่างกาย                                                                                 - การเกิดฝน
-การเคลื่อนไหวอยู่กับที่
   ด้านอารมณ์- จิตใต
-การร่วมสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
-การปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ตามความสามารถของตนเอง
   ด้านสังคม
-การร่วมกำหนดข้อตกลงของห้องเรียน
-การปฏิบัติตนเป็นสมชิกที่ดีของห้อง
-การร่วมสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
-การทำงานร่วมกับผู้อื่น
  ด้านสติปัญญา
-การสังเกต
กิจกกรมการเรียนรู้
              ขั้นนำ
1.เด็กท่องคำคล้องจอง "ฝนตก" และสนทนาเกี่ยวกับการเกิดฝน ถามเด็กๆว่า "เด็กๆคิดว่าฝนเกิดขึ้นได้อย่างไร" 
              ขั้นดำเนินการ
2.นำแก้วใส่น้ำร้อนมาวางไว้บนโต๊ะ ถามเด็กๆว่า " น้ำในแก้วที่เด็กๆเห็นเป็นน้ำร้อนหรือน้ำเย็น"
 2.1 นำแผ่นพลาสติกวางบนปากแก้วน้ำร้อน ให้เด็กๆสังเกต ถามเด็กว่า "มีอะไรลอยขึ้นจากน้ำในแก้ว"
 2.2 ให้เด็กๆ สังเกตไอน้ำที่ลอยขึ้นมาจนกลายเป็นหยดน้ำ ถามเด็กๆว่า"หยดน้ำที่เด็กๆ เห็นเหมือนกับอะไร"
              ขั้นสรุป
3 ครูนำภาพการเกิดฝนสนทนากับเด็กๆ ครูร่วมกับเด็กสรุปการเกิดฝน

สื่อการเรียนรู้
  1. แก้วใส่น้ำร้อน
  2. แผ่นพลาสติก
  3. บัตรภาพการเกิดฝน
  4. แผนภูมิคำคล้องจอง
การประเมิน
  1. การฟังและสนทนาโต้ตอบ
  2. ปฏิบัติตามข้อตกลง
  3. บอกการเกิดฝน

แผนที่ 2 เรื่อง ของใช้และเครื่องแต่งการในฤดูฝน

วัตถุประสงค์
                                   
  1.  เพื่อให้เด็กฟังและสนทนาโต้ตอบได้
  2.  เพื่อให้เด็กบอกชื่อของใช้และเครื่องแต่งกายฤดูฝนได้
  3.  เพื่อให้เด็กเสนอความคิดเห็นและฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

สาระการเรียนรู้
        ประสบการณ์สำคัญ                                                                         สาระที่ควรเรียนรู้ 
    ด้านร่างกาย                                                                  - เครื่องแต่งกายและของใช้ในฤดูฝน
- การเคลื่อนไหวใช้การประสานสัมพันธ์ของการใช้
กล้ามเนื้อมัดเล็กในการจับ
   ด้านอารมณ์- จิตใจ
-การพูดสะท้อนความรู้สึกของตนเอง
   ด้านสังคม
-การร่วมสนทนาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
-การเล่นและการทำงานร่วมกับผู้อื่่น

  
ด้านสติปัญญา

-การพูดเกี่ยวกับประสบการณ์ของตนเอง
-การรอจังหวะที่เหมาะสม

กิจกรรมการเรียนรู้
          ขั้นนำ
1.ครูและเด็กร่วมกันสนทนาระดมความคิด เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่องเครื่องแต่งกายในฤดูฝนโดยถามเด็กๆว่า "เด็กๆรู้ไหมว่าฤดูฝนมีของใช้อะไรบ้าง เด็กๆรู้ไหมว่าฤดูฝนควรแ่งกายอย่างไร "
         ขั้นดำเนินการ
2.ครูให้เด็กเล่าประสบการณ์ของตนเองเกี่ยวกับการใช้ของใช้ในฤดูฝน
3.ครูนำของใช้ในฤดูฝนมาให้เด็กดูและช่วยกันบอกชื่อของแต่ละชิ้น
4.ตัวแทนเด็กออกมาสาธิตการใช้ของใช้ในฤดูฝนให้เพื่อนดู
         ขั้นสรุป
5.ครูและเด็กสนทนาร่วมกันและสรุปกิจกรรมเครื่องแต่งกายและของใช้ในฤดูฝน

สื่อการเรียนรู้
  1. ชุดกันฝน
  2. ร่ม
  3. รองเท้าบูธ
  4. หมวก
การประเมิน
  1. สังเกตจากการฟังและสนทนาโต้ตอบ
  2. สังเกตจากการบอกชื่อของใช้และเครื่องแต่งกายในฤดูฝน
  3. สังเกตจากการเสนอแสดงความคิดเห็นและังความคิดเห็นของผู้อื่น


แผนที่ 3 เรื่อง สัตว์ในฤดูฝน

วัตถุประสงค์
  1. เพื่อให้เด็กบอกชื่อสัตว์ที่พบในฤดูฝน
  2. เพื่อให้เด็กฟังและสนทนาโต้ตอบได้
  3. เพื่อให้เด็กเสนอแสดงความคิดเห็นและฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
สาระการเรียนรู้
        ประสบการณ์สำคัญ                                                                         สาระที่ควรเรียนรู้ 
     ด้านร่างกาย                                                                              -สัตว์ที่พบในฤดูฝน 
-การฟังนิทาน เรื่องราว
การหยิบจับ
    ด้านอารมณ์- จิตใจ
-การร่วมสนทนาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเชิงจริยธรรม
    ด้านสังคม
-การเล่นและการทำงานร่วมกับผู้อื่น
-การมีส่วนร่วมในการเลือกวิธีการแก้ปัญหา
   ด้านสติปัญญา
-การฟังนิทานหรือเรื่องราวต่างๆ
-การอ่านหนังือภาพหรือนิทาน หลากหลายประเภท
กิจกรรมการเรียนรู้
      ขั้นนำ
1.ครูและเด็กร่วมกันเล่านิทาน
      ขั้นดำเนินการสอน
2.ครูนำภาพสัตว์ที่มักพบในฤดูฝนมาให้เด็กดูแล้วสนทนา
3.ครูติดภาพบนกระดานแล้วให้เด็กอ่านชื่อสัตว์ตามครูทั้งคำศัพท์ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
      ขั้นสรุป
4.ครูและเด็กร่วมกันสรุปเรื่องสัตว์ที่พบในฤดูฝน

สื่อการเรียนรู้
  1. บัตรภาพ
  2. นิทาน
การประเมิน
  1. สังเกตจากบอกชื่อสัตว์ที่พบในฤดูฝน
  2. สังเกตจากการฟังและสนทนาโต้ตอบ
  3. สังเกตจากเสนอแสดงความคิดเห็นและฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

แผนที่ 4 เรื่อง การดูแลตนเองขณะฝนตก

วัตถุประสงค์
  1. เพื่อให้เด็กฟังและสนทนาโต้ตอบได้
  2. เพื่อให้เด็กปฏิบัติตามข้อตกลงได้
  3. เพื่อให้เด็กบอกวิธีการดูแลตนเองขณะฝนตกได้
สาระการเรียนรู้
        ประสบการณ์สำคัญ                                                                         สาระที่ควรเรียนรู้ 
     ด้านร่างกาย                                                          - การดูแลสุขภาพและปฏิบัติตนขณะฝนตก
-การฟังเรื่องราว เหตุการณ์ เกี่ยวกับการป้องกันและรักษาความปลอดภัย
    ด้านอารมณ์-จิตใจ
-การพูดสะท้อนความรู้สึกของตนเองและผู้อื่น
    ด้านสังคม
-การสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
    ด้านสติปัญญา
-การฟังและการปฏิบัติตามคำแนะนำ
-การพูดแสดงความคิดเห็นและประสบการณ์ของตน
กิจกรรมการเรียนรู้
      ขั้นนำ
1.ครูและเด็กร่วมกัันสนทนาภาพเกี่ยวกับการดูแลตนเองขณะเกิดฝนตก โดยใช้คำถามว่า "เด็กๆเห็นอะไรในภาพ"
      ขั้นดำเนินการสอน
2.ครูและเด็กร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนถึงการดูแลตนเองขณะเกิดฝนตก "หากเราเปียกฝนแล้วจะเป็นอย่างไร " (ไข้หวัด) "หากเด็กๆเล่นอยู่แล้วฝนกำลังตกเด็กๆจะทำอย่างไร"
     ขั้นสรุป
3.ครูและเด็กร่วมกันสรุปกิจกรรม

สื่อการเรียนรู้
  1. บัตรภาพ
การประเมิน
  1. สังเกตจากการฟังและสนทนาโต้ตอบ
  2. สังเกตจากการปฏิบัติตามข้อตกลง
  3. สังเกตจากการบอกวิธีดูแลตนเองขณะฝนตก

แผนที่ 5 ข้อควรระวัง/โทษของฝน

วัตถุประสงค์
  1. เพื่อให้เด็กฟังและสนทนาโต้ตอบได้
  2. เพื่อให้เด็กบอกประโยชน์ของฝนได้
  3. เพื่อให้เด็กบอกโทษของฝนได้
  4. เพื่อให้เด็กเสนอความคิดเห็นและฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
สาระการเรียนรู้
        ประสบการณ์สำคัญ                                                                         สาระที่ควรเรียนรู้ 
      ด้านร่างกาย                                                                              - ประโยชน์และโทษของฝน
- การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กหยิบจับสิ่งต่างๆ
     ด้านอารมณ์จิตใจ
-การพูดสะท้อนความรู้สึกของตนเองและผู้อื่น
     ด้านสังคม
-การให้ความร่วมมือในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ
-การเล่นและการทำงานร่วมกับผู้อื่น
     ด้านสติปัญญา
-การฟังและการปฏิบัติตามคำสั้ง
-การรวมและแยกสิ่งต่างๆ
-การคัดแยก จัดกลุ่ม และการจำแนกสิ่งต่างๆ
กิจกรรมการเรียนรู้
          ขั้นนำ
1.ครูและเด็กร่วมกันสนทนาถึงประโยชน์และโทษของฝน โดยการใช้คำถามว่า  1) เด็กๆรู้ไหมว่าน้ำฝนมีประโยชน์อย่างไร  2) เด็กๆรู้ไหมว่าน้ำฝนสามารถนำไปทำอะไรได้บ้าง 3) เด็กรู้ไหมว่าน้ำฝนมีโทษอย่างไร 
         ขั้นดำเนินการสอน
 2.ครูนำภาพประโยชน์และโทษของฝนมาให้เด็กดูแล้วสนทนา ประโยชน์ขอลฝนมีอะไรบ้าง และโทษของฝนมีอะไรบ้าง
3.เด็กๆช่วยกันแยกภาพประโยชน์และโทษของน้ำฝน
         ขั้นสรุป
4.ครูและเด็กร่วมกันสนทนาและสรุปประโยชน์และโทษของฝน

สื่อการเรียนรู้
  1. บัตรภาพ
การประเมิน
  1. สังเกตจากการฟังและสนทนาโต้ตอบ
  2. สังเกตจากการบอกประโยชน์ของฝน
  3. สังเกตจากการบอกโทษของฝน
  4. สังเกตจากการเสนอความคิดเห็นและฟังความคิดเห็นของผู้อื่น



Skills  (ทักษะ)
ทักษะการคิดและการวางแผน การเลือกหัวข้อเรื่อง วางแผนกิจกรรมให้สอดคล้องกัน การทำงานกลุ่ม และทักษะความคิดสร้างสรรค์ในการทำ mind map ให้สวยงาม รวมทั้งทักษะในการใช้เทคโนโลยีให้การสร้าง mind map ให้สวยงามและมีความเป็นระเบียบ

Apply  (การนำมาประยุกต์ใช้)
เรียนรู้กระบวนการคิดและการวางแผนอย่างเป็นระบบในการจัดทำแผนประสบการณ์ ศึกษาจากจัดประสบการณ์การเรียนรู้จาก 6 กิจกรรมและได้รู้จักกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อใช้เป็นแนวทางในการทำแผนครั้งต่อไป นอกจากนั้นแผนการจัดประสบการณ์ที่ช่วยกันคิดยังสามารถนำไปใช้ทดลองสอนกับเด็กได้

Technique  (เทคนิคที่อาจารย์ใช้สอน) 
อาจารย์ได้ให้คำแนะนำและเป็นที่ปรึกษาที่ดี ได้มีการใช้สื่อและวิธีการสอนที่มีความหลากหลาย



Assessment (การประเมิน)

our self  : เข้าเรียนตรงเวลา ให้ความร่วมมือกับเพื่อนในการคิดและการทำงาน 

Friend  : ทุกคนตั้งใจฟังอาจารย์ และตั้งใจทำงานทั้งงานเดี่ยวของตนเองและงานกลุ่ม มีความสามัคคีปรึกษาหารือพูดคุยกัน และมีความพยายามแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆให้ดีขึ้น


Teacher : อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา ให้คำแนะนำดีเข้าใจง่ายและดูแลให้คำปรึกษาอย่างทั้วถึงทุกคน

 Classroom  : บรรยากาศการเรียนดี เพื่อนทุกคนตั้งใจเรียน ไม่ส่งเสียงดัง