วันเสาร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2561

Diary no.7

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7
การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Provision for Early Childhood 
วันที่ศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2561
เวลา 8.30 - 12.30 น
.

Story of subject (เนื้อหาที่สอน)
 ➨ กิจกรรมที่ 1 
อาจารย์แจกแผ่นความรู้บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย คนละ 1 แผ่น เป็นการทดลองเรื่องต่างๆที่สอนวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กๆ ให้อ่านและสรุปจากแผ่นความรู้ที่แจกใน 1 หน้ากระดาษ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 5 ขั้น


รื่องที่ได้ คือ เรื่องน้ำมะนาวโซดาแสนอร่อย
แนวความรู้   ในการทดลองครั้งนี้เด็กๆ จะได้รู้ว่าผงมะนาวโซดามีส่วนผสมอะไรบ้าง และต้องใส่ส่วนผสมในอัตราส่วนเท่าใดจึงจะทำให้ได้รสชาติดี ให้เด็กๆชิมรสและสังเกตสีเครื่องดื่มรวมถึงก๊าซที่เกิดขึ้นในน้ำมะนาวโซดา
ปัญหา  ถ้าอยากได้น้ำมะนาวที่อร่อยจะต้องทำอยากไร
สมมติฐาน  เมื่อนำเบกกิ้งโซดาผสมกับกรดมะนาวผงและน้ำหวานจะได้รสชาติอย่างไร



การทดลอง   
1. เทเบกกิ้งโซดา กรดมะนาว และน้ำตาลใส่ในแก้ว จากนั้นเติมน้ำลงไป และให้เตรียมแก้วน้ำอีก 2 ใบ
2. เทเบกกิ้งโซดาลงในแก้วใบแรก ใบที่ 2 เทกรดมะนาวและเวลาเติมน้ำ 1/4 แก้ว และคนให้เข้ากัน
3. เทกรดมะนาวผสมลงในแก้วที่มีเบกกิ้งโซดาผสมน้ำ แล้วสังเกตดูว่ามีอะไรเกิดขึ้น หลังจากนั้นให้ใช้หลอดดูดชิมดูว่ามีรสชาติอะไร
4. เมื่อนำน้ำหวานเทลงไป มีรสชาติเหมื่อนน้ำมะน้ำโซดาหรือไม่ ถ้ารสชาติเข้มข้นเกินไป สามารถเจือจางด้วยน้ำ
วัสดุอุปกรณ์
➤ น้ำหวาน   ➤ กระดาษสีเข้ม  ➤ เบกกิ้งโซดา  ➤ กรดมะนาวผง  ➤ น้ำดื่ม
➤ แว่นขยาย  ➤ แก้วน้ำ  ➤ ชาม  ➤ หลอดดูด  ➤ ช้อนโต๊ะ


กิจกรรมที่ 2  อาจารย์ให้คิดค้นสิ่งประดิษฐ์เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ โดยวัสดุที่ใช้เป็นหลักคือแกนทิชชู่และหาอุปกรณ์เพิ่มเติมจากห้องเรียน เช่น กระดาษ การเติมสีส้น  คนละ 1 อย่างโดยต้องไม่ซ้ำกัน 
สิ่งที่เลือกประดิษฐ์คือ รถยนต์ ซึ่งเป็นวิทยาศาสตร์ในเรื่องพลังงานกล ในทางฟิสิกส์ จะหมายถึง พลังงานที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่โดยตรงของวัตถุ 
พลังงานจลน์  คือ พลังงานที่เกิดกับวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ เช่น รถยนต์กำลังแล่น เครื่องบินกำลังบิน พัดลมกำลังหมุน น้ำกำลังไหลหรือน้ำตกจากหน้าผา ธนูที่พุ่งออกจากคันศร จักรยานที่กำลังเคลื่อนที่ เป็นต้น จึงกล่าวได้ว่า พลังงานจลน์ล้วนเป็นพลังงานกลที่สามารถเปลี่ยนรูปกลับไปกลับมาได้
อุปกรณ์ 
1. แกนทิชชู่
2. กระดาษสี
3. กระดาษแข็ง
4. เทปกาว
ภาพกิจกรรม 








Skills  (ทักษะ)

การอ่านสรุปความและการตั้งประเด็นปัญหาที่ต้องการศึกษา การนำทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาใช้และการวางแผนในการจัดกิจกรรม วิธีการดำเนินงานต่างๆ

Apply  (การนำมาประยุกต์ใช้)

นำแนวทางการวางแผนลำดับขั้นตอน จากกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มาประยุกต์ใช้ในวางแผนการจัดกิจกรรมต่างๆในอนาคตให้กับเด็กๆให้เหมาะสมกับเรื่องที่จะสอน

Technique  (เทคนิคที่อาจารย์ใช้สอน)

 ฝึกการแก้ปัญหา ส่งเสริมให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และลงมือกระทำ กระตุ้นให้ผู้เรียนตื่นตัวตลอดเวลา

Assessment (การประเมิน)

      our self  : ตั้งใจเรียน มาตรงเวลาพร้อมสำหรับการเรียนรู้

      Friend  : ทุกคนตั้งใจฟังอาจารย์ ให้ความร่วมมือ ผลงานที่ออกมามีความสร้างสรรค์สวยงาม


      Teacher : อาจารย์อธิบายและแนะนำการสรุปและตั้งประเด็นได้เข้าใจ เพราะบางคนไม่เข้าใจสรุปไม่เป็น อาจารย์ก็ได้ให้คำแนะนำเพิ่มเติมจนสามารถสรุปได้สำเร็จ


      Classroom  : บรรยากาศการเรียนดี





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น