วันเสาร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2561

Diary no.7

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7
การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Provision for Early Childhood 
วันที่ศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2561
เวลา 8.30 - 12.30 น
.

Story of subject (เนื้อหาที่สอน)
 ➨ กิจกรรมที่ 1 
อาจารย์แจกแผ่นความรู้บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย คนละ 1 แผ่น เป็นการทดลองเรื่องต่างๆที่สอนวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กๆ ให้อ่านและสรุปจากแผ่นความรู้ที่แจกใน 1 หน้ากระดาษ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 5 ขั้น


รื่องที่ได้ คือ เรื่องน้ำมะนาวโซดาแสนอร่อย
แนวความรู้   ในการทดลองครั้งนี้เด็กๆ จะได้รู้ว่าผงมะนาวโซดามีส่วนผสมอะไรบ้าง และต้องใส่ส่วนผสมในอัตราส่วนเท่าใดจึงจะทำให้ได้รสชาติดี ให้เด็กๆชิมรสและสังเกตสีเครื่องดื่มรวมถึงก๊าซที่เกิดขึ้นในน้ำมะนาวโซดา
ปัญหา  ถ้าอยากได้น้ำมะนาวที่อร่อยจะต้องทำอยากไร
สมมติฐาน  เมื่อนำเบกกิ้งโซดาผสมกับกรดมะนาวผงและน้ำหวานจะได้รสชาติอย่างไร



การทดลอง   
1. เทเบกกิ้งโซดา กรดมะนาว และน้ำตาลใส่ในแก้ว จากนั้นเติมน้ำลงไป และให้เตรียมแก้วน้ำอีก 2 ใบ
2. เทเบกกิ้งโซดาลงในแก้วใบแรก ใบที่ 2 เทกรดมะนาวและเวลาเติมน้ำ 1/4 แก้ว และคนให้เข้ากัน
3. เทกรดมะนาวผสมลงในแก้วที่มีเบกกิ้งโซดาผสมน้ำ แล้วสังเกตดูว่ามีอะไรเกิดขึ้น หลังจากนั้นให้ใช้หลอดดูดชิมดูว่ามีรสชาติอะไร
4. เมื่อนำน้ำหวานเทลงไป มีรสชาติเหมื่อนน้ำมะน้ำโซดาหรือไม่ ถ้ารสชาติเข้มข้นเกินไป สามารถเจือจางด้วยน้ำ
วัสดุอุปกรณ์
➤ น้ำหวาน   ➤ กระดาษสีเข้ม  ➤ เบกกิ้งโซดา  ➤ กรดมะนาวผง  ➤ น้ำดื่ม
➤ แว่นขยาย  ➤ แก้วน้ำ  ➤ ชาม  ➤ หลอดดูด  ➤ ช้อนโต๊ะ


กิจกรรมที่ 2  อาจารย์ให้คิดค้นสิ่งประดิษฐ์เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ โดยวัสดุที่ใช้เป็นหลักคือแกนทิชชู่และหาอุปกรณ์เพิ่มเติมจากห้องเรียน เช่น กระดาษ การเติมสีส้น  คนละ 1 อย่างโดยต้องไม่ซ้ำกัน 
สิ่งที่เลือกประดิษฐ์คือ รถยนต์ ซึ่งเป็นวิทยาศาสตร์ในเรื่องพลังงานกล ในทางฟิสิกส์ จะหมายถึง พลังงานที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่โดยตรงของวัตถุ 
พลังงานจลน์  คือ พลังงานที่เกิดกับวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ เช่น รถยนต์กำลังแล่น เครื่องบินกำลังบิน พัดลมกำลังหมุน น้ำกำลังไหลหรือน้ำตกจากหน้าผา ธนูที่พุ่งออกจากคันศร จักรยานที่กำลังเคลื่อนที่ เป็นต้น จึงกล่าวได้ว่า พลังงานจลน์ล้วนเป็นพลังงานกลที่สามารถเปลี่ยนรูปกลับไปกลับมาได้
อุปกรณ์ 
1. แกนทิชชู่
2. กระดาษสี
3. กระดาษแข็ง
4. เทปกาว
ภาพกิจกรรม 








Skills  (ทักษะ)

การอ่านสรุปความและการตั้งประเด็นปัญหาที่ต้องการศึกษา การนำทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาใช้และการวางแผนในการจัดกิจกรรม วิธีการดำเนินงานต่างๆ

Apply  (การนำมาประยุกต์ใช้)

นำแนวทางการวางแผนลำดับขั้นตอน จากกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มาประยุกต์ใช้ในวางแผนการจัดกิจกรรมต่างๆในอนาคตให้กับเด็กๆให้เหมาะสมกับเรื่องที่จะสอน

Technique  (เทคนิคที่อาจารย์ใช้สอน)

 ฝึกการแก้ปัญหา ส่งเสริมให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และลงมือกระทำ กระตุ้นให้ผู้เรียนตื่นตัวตลอดเวลา

Assessment (การประเมิน)

      our self  : ตั้งใจเรียน มาตรงเวลาพร้อมสำหรับการเรียนรู้

      Friend  : ทุกคนตั้งใจฟังอาจารย์ ให้ความร่วมมือ ผลงานที่ออกมามีความสร้างสรรค์สวยงาม


      Teacher : อาจารย์อธิบายและแนะนำการสรุปและตั้งประเด็นได้เข้าใจ เพราะบางคนไม่เข้าใจสรุปไม่เป็น อาจารย์ก็ได้ให้คำแนะนำเพิ่มเติมจนสามารถสรุปได้สำเร็จ


      Classroom  : บรรยากาศการเรียนดี





วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2561

Diary no.6

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6
การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Provision for Early Childhood 
วันที่ศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2561
เวลา 8.30 - 12.30 น.

⭐⭐⭐⭐⭐⭐⭐⭐⭐⭐⭐⭐⭐⭐⭐⭐


Story of subject (เนื้อหาที่สอน)

อาจารย์ได้มอบหมายให้นักศึกษาค้นหาวิจัยวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย และบอกชื่อวิจัยของตนเอง พร้อมกับอธิบายถึงวัตถุประสงค์ และตัวแปรต้นตัวแปรตามของวิจัย ยกตัวอย่างกิจกรรมหรือแผนการจัดกิจกรรมในวิจัยนั้นๆ อาจารย์ได้ฟังและให้คำแนะนำต่างๆเกี่ยวกับการหาวิจัย การสร้างกิจกรรมการสอน และการสรุปงานวิจัยว่าต้องสรุปจากองค์ประกอบอะไรบ้าง


กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ประเด็นปัญหา
สมมติฐาน
การทดลอง
เก็บข้อมูล ตรวจสอบผลการวิจัย
สรุปผล


5 E
1.สร้างความสนใจ
2.สำรวจและค้นหา
3.อธิบาย - ปรับปรุง
4.ขยายความรู้
5.การประเมิน

Skills  (ทักษะ)

การค้นหางานวิจัย เทคนิคการสรุปวิจัยให้เข้าใจและการทำงานเป็นกลุ่ม 


Apply  (การนำมาประยุกต์ใช้)



ได้รู้หัวข้อวิจัยในเรื่องต่างๆที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ที่นอกจากจะเป็นประโยนช์ในรายวิชาแล้ว ยังเป็นประโยชน์อย่างมากในการทำวิจัยในชั้นเรียน ในอนาคต

Assessment (การประเมิน)

     our self  : มาเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์สอน ค้นหาวิจัยส่งอาจารย์และช่วยเพื่อนค้นหา


     Friend  : เพื่อนๆตั้งใจฟังอาจารย์ และตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบมายคือการหาวิจัยของตนเอง และช่วยเพื่อนคนอื่นๆหา ทำให้เกิดความสามัคคีเอื้อเฝื้อต่อกัน



    Teacher : อาจารย์ให้อธิบายและแนะนำเพิ่มเติมวิธีการสรุปวิจัย และให้คำแนะนำในการหาวิจัยว่าควรเป็นวิจัยแบบไหน และเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์อย่างไร

   Classroom  : วันนี้เรียนตึก 34 บรรยากาศในการเรียนวันนี้สบายๆ ไม่เคลียด 


Diary no.5

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5
การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Provision for Early Childhood 
วันที่ศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2561
เวลา 8.30 - 12.30 น.

Story of subject (เนื้อหาที่สอน)

   อาจารย์ได้มอบหมายงานให้นักศึกษาจับกลุ่ม พร้อมทั้งช่วยกันวางแผน ออกแบบกิจกรรมที่จะนำไปปฎิบัติกันกับเพื่อนที่ศูนย์วิทยาศาสตร์ เป็นการสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่นำเสนอจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เช่น เรื่องพิพิธภัณฑ์พลังงาน ก็ให้ช้วยกันประดิษฐ์กังหัน แล้วสนทนาร่วมกันว่าเกิดลมมาจากพลังงานอะไร  พวกเราช่วยกันออกแบบและวางแผนการทำงานร่วมกันซึ่งต้องสอดคล้องกับกิจกรรมที่เกี่ยงข้องกับทางวิทยาศาศตร์ จากที่ได้รับคำแนะนำและการคิดหัวข้อในการออกแบบกิจกรรม
    → เสร็จแล้วอาจารย์ได้ปล่อยให้นักศึกษามาทำ บล็อกให้เรียบร้อยพร้อมทั้งให้นักศึกษาตรวจทานก่อนที่จะส่งทุกครั้งเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยและมีความสวยงาม




   



วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2561

Diary no.4

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4
การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Provision for Early Childhood 
วันที่ศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2561
เวลา 8.30 - 12.30 น.

😊😊😊😊😊😊😊😊😊😊😊😊😊😊😊😊😊😊😊😊😊😊😊😊

Story of subject (เนื้อหาที่สอน)

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (ทักษะคือความสามารถที่เกิดจากการฝึกฝน) การส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยสามารถคิดหาเหตุผล
 1. ทักษะการสังเกต
การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5หารายละเอียดของสิ่งนั้น ตาดู หูฟัง ลิ้นชิมรส กานสัมผัส 
เครื่องมือเก็บข้อมูลในลักษณะต่างๆ
   - การสังเกตรูปร่างลักษณะและคุณสัมบัติทั่วไป
   - การสังเกตควบคู่กับการวัดเพื่อทราบปริมาณ
   - การสังเกตเพื่อรู้การเปลี่ยนแปลง


2. ทักษะการจำแนกประเภท  (classifying)
แบ่งประเภทโดยใช้เกณฑ์ (criteria) หาเกณฑ์
  - ความเหมือน
  - ความแตกต่าง 
  - ความสัมพันธ์ร่วมกัน

3.ทักษะการวัด
เครื่องมือต่างๆใช้ในการวัดหาปริมาณของสิ่งที่อยากรู้ โดยมีหน่วยวัดกำกับ



4.ทักษะการสื่อความหมาย การพูด การเขียน รูปภาพ ท่าทาง การแสดงสีหน้า
  - บรรยายคุณสมบัติ
  - บันทึกการเปลี่ยนแปลง
  - ความสัมพันธ์การจัดข้อมูล

5.ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล  (ภาษา)
การเพิ่มเติมความคิดเห็นให้กับข้อมูลที่มีอยู่โดยอาศัยความรู้และประสบการณ์เดิม

6. ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา
 การรู้จักเรียนรู้ 1 มิติ 2 มิติ 3 มิติ การเขียนภาพ 2 มิติแทน 3 มิติ การบอกทิศทาง การบอกเงาที่เกิดจากภาพ 3 มิติ 
7. ทักษะการคำนวณ  บวก ลบ คูณ หาร การนับ การบอกความแตกต่าง


ความสำคัญของวิทยาสาตร์
1. ทำให้ชีวิตมีความสะดวกสบายขึ้น
2.เป็นเครื่องมือทำนายอนาคต
3.ทำให้ดำรงชีวิตได้อย่างปลอดภัย ด้านการรักษา การแพทย์

💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛
ทำไมจะต้องสอนวิทยาศาสตร์
1.มาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาปฐมวัยเป็นเกณฑ์ 
2. หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย 2560 
3. เป็นเรื่องในชีวิตประวำวัน

สมองกับวิทยาศาสตร์
1. ตีความข้อมูลที่ได้รับเพื่อทำความเข้าใจ
2. หาเหตุผลเชื่อมโยงสิ่งที่คิดขึ้นเพื่อสืบค้นความจริง
3. ประเมินคุณค่าของสิ่งต่างๆเพื่อการตัดสินใจ

 องค์ประกอบการคิดทางวิทยาศตร์
1. สิ่งที่กำหนดให้ เป็นสิ่งสำเร็จรูปที่กำหนดให้ ใช้ทักษะ 7 อย่าง (ภาษา คณิต และวิทยาศาสตร์)
2. หลักการหรือกฎเกณฑ์
3. การค้นหาความจริงหรือความสำคัญ


พัฒนาการ  
คือ ความสามารถของเด็กในแต่ละช่วงวัย
มัลักษณะ คือ การเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นขั้นเป็นตอนอย่างต่อเนื่อง
  รู้พัฒนาการเพื่อ นำมาออกแบบจัดกิจกรรมที่เหมาะสมและสอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ของเด็กหรือเรียกอีกอย่างว่าการเล่น ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

พัฒนาการตามแนวคิกของนักทฤษฎีต่างๆ
 -สติปัญญา  เพียเจต์  บรูนเนอร์
 -พัฒนาการทางสังคม มาสโลว์
 -พัฒนาการทางพฤติกรรม ซิกมันฟรอยด์
 -พัฒนาการทางร่างกายกีเซล
 -พัฒนาการทางด้านคุณธรรม  โคลเบริก์

Skills  (ทักษะ)
รู้หลักการวางแผนในการจัดกิจกรรมทางวิทยาศาตร์ให้เหมาะสมกับช่วงวัยและพัฒนาการของเด็ก 
วิทยาศาตร์เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันความหมาย ความสำคัญ  และทักษะต่างๆที่ต้องจัดให้เด็ก

 Apply  (การนำมาประยุกต์ใช้)
นำทักษะทั้ง 7 ทักษะมาใช้ในการเรียนวิชาวิทยาศตร์และวิชาอื่นๆ สามารถนำทักษะเหล่านี้ไปใช้ได้ และนำทักษะต่างๆ เช่น ทักษะการ สังเกต การจำแนก มาประยุกต์ใช้วางแผนในการจัดประสบการณ์ที่เหมาะกับพัฒนาการของเด็ก

Technique  (เทคนิคที่อาจารย์ใช้สอน)
  power point นำเสนอ และโทรศัพท์ในการค้นหาคำศัพท์และคำนิยามทางวิทยาศาตร์


Assessment (การประเมิน)
   
      our self  : มาเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์สอนและความร่วมมือในการตอบคำถาม



      Friend  : เพื่อนๆตั้งใจฟังไม่คุยกัน เวลานำเสนงานก็ช่วยกันนำเสนอดี



      Teacher : อาจารย์ให้อธิบายและยกตัวอย่างประกอบในการสอนได้ชัดเจนดี และเสนอแนะในการทำงานกลุ่มเพื่อให้งานออกมาดี



      Classroom  : วันนี้เรียนตึก 34 อากาศค่อนข้างร้อน อุปกรณ์ไม่ครบ ทำให้ยืดเวลาการเรียนการสอนไปนิดนึง