วันอาทิตย์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2561

Diary no.11
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11
การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Provision For Early Childhood
วันศุกร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2561
เวลา 8.30 - 12.30 น.

 Story of subject (เนื้อหาที่สอน)
       วันนี้อาจารย์ได้เปิดวีดีโอการนำเสนอการทดลองวิทยาศาสตร์ของเพื่อน ๆและได้ให้คำแนะนำรายละเอียดในการนำเสนอเพิ่มเติม เพื่อปรับแก้ให้การนำเสนอสู่การจัดกิจกกรมโครงการให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด

⏩ เปิดปิด! สวิสซ์มีหน้าที่อะไร  ของนางสาวปรางทอง  สุริวงษ์
อะไรที่ทำให้ไฟติดบ้าง? ประเด็นปัญหา
   ทดลองโดยการ
นำสายไฟและอุปกรณ์ต่างๆ  สายไฟ ถ่าน หลอดไฟ ต่อกันจนครบวงจร แล้วให้เด็กสังเกตว่าเกิดอะไรขึ้น เกิดไฟติดแสดงว่า ต่ออุปกรณ์จนครบวงจร แล้วไฟฟ้าไหลจากจุดกำเนิดคือถ่าน ผ่านสายไฟจนทำให้เกิดไฟติด เมื่อถอดออกไฟดับเพราะไม่ครบวงจร  แล้วถ้านำมาต่อกับวัสดุอื่นๆ วัสดุใดต่อไฟติดแสดว่างนำไฟฟ้า ส่วนวัสดุที่ต่อแล้วไฟไม่ติดแสดงว่า เป็นฉนวนไฟฟ้า ฉนวนไฟฟ้ามีเพื่อป้องกันไฟฟ้ารั่วมาสู่ตัวเรา

⏩ เมล็ดพืชเต้นระบำ  ของนางสาวบงกชกมล   ยังโยมร
จะทำอย่างไรให้ถั่วเขียวลอยขึ้นมาบ้าง ? ประเด็นปัญหา
   ทดลองโดยการ
1.นำถั่วเขียวใส่ในขวดโหล แล้วเทน้ำเปล่าลงไป ปรากฏว่า น้ำเปล่าไม่ทำให้ถั่วเขียวลอย 
2.นำถั่วเขียวใส่ในขวดโหลใบที่ 2 แล้วเทน้ำโซดาลงไป ปรากฏว่า ถั่วเขียวลอย แสดงว่าน้ำโซดาทำให้ถั่วเขียวลอย 
สังเกตดูว่า โซดามีฟองซ่าเกิดขึ้น ถั่วเขียวลอยเพราะฟองซ่า ฟองซ่านั้นคือคือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
สรุป น้ำที่ทำให้ถั่วเขียวลอยคือ น้ำโซดา เพราะมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

เรื่อง คาร์บอนไดออกไซด์ ของนางสาวมารีน่า  ดาโร๊ส
อุปกรณ์ที่นำมาถ้าเอาแก้วครอบเทียนจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง
 คำถามกระตุ้นเพื่อให้เด็กตอบสมมติฐาน
   ทดลองโดยการ 
จุดเทียนเล็กแล้วนำแก้วครอบเทียน จากนั้นให้เด็กๆสังเกตว่าดูเทียนที่ค่อยๆดับแล้วกลายเป็นควัน เพราะการที่เราเอาแก้วไปครอบเทียนไว้ทำให้อากาศข้างในที่เป็นออกซิเจนค่อยๆหมดไป กลายเป็นคาร์บอนไดออกไซด์ สรุปถ้าไม่มีออกซิเจนไฟไม่ติด


⏩ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ช่วยดับไฟ ของนางสาวอุไรพร   พวกดี 
วัสดุอุปกรณ์ เบกกิงโซดา น้ำมะนาว เทียน  ถ้วยรอง
ถ้านำน้ำมะนาวเทลงไปในภาชนะที่มีเบกกิงโซดาจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ? คำถามกระตุ้นให้ตอบสมมติฐาน
ทดลองโดยการ
1. ตักเบกกิงโซดา 2 ช้อน ใส่ในภาชนะ
2. วางเทียนลงในภาชนะแล้วจุดเทียน
3.เทน้ำมะนาวลงในภาชนะที่มีเบกกิงโซดา แล้วสังเกตปรากฏว่าไฟดับ
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เกิดจากน้ำมะนาวทำปฏิกิริยากับเบกกิงโซดา สรุป ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ช่วยดับไฟ

นำหรือไม่นำไฟฟ้า ของนางสาวณัฐชา  บุญทอง

วัสดุอุปกรณ์ กรรไกร คริปหนีบกระดาษ ถ่าน สายไฟ หลอดไฟ แก้วน้ำ ยางลบ เหรียญ
กระแสไฟฟ้าไหลผ่านอะไรได้บ้าง ? 
ถ้าต่อของแต่ละชนิดจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ? กระตุ้นให้ตอบสมมติฐาน
ทดลองโดยการ
ต่อสายไฟและถ่านจนครบวงจรปรากฏว่าหลอดไฟติด แต่ถ้าถอดออกไฟดับ เพราะไม่ครบวงจร ทดลองเอาวัสดุต่างๆไปเชื่อมต่อ ถ้าหลอดไฟติดแสดงว่านำไฟฟ้า เรียกว่าโลหะ  คือ เหรียญ กรรไกร คริปหนีบกระดาษ  ถ้าต่อแล้วหลอดไฟไม่ติดเรียกว่า อโลหะ ไม่นำไฟฟ้า คือ แก้วน้ำและยางลบ 

การหักเหของน้ำ ของนางสาวสุจิณณา  พาพันธ์
 ทดลองโดยการ 
1. นำผ้าเช็ดหน้าถูกับช้อนจนเกิดความร้อน
2.นำช้อนที่มีไฟฟ้าสถิตไปวางขนานใกล้กับสายน้ำ และสังเกตการเปลี่ยนแปลง 
สรุปได้ว่า สร้างไฟฟ้าสถิตทำให้น้ำเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่


Skills  (ทักษะ)
การนำกระบวนทางวิทยาศาสตร์ 5 ขั้น มาใช้ในการตั้งคำถามเพื่อดำเนินการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ให้กับเด็ก ๆ ตั้งแต่ต้นจนจนให้เกิดความสมบูรณ์ที่สุด 

Apply  (การนำมาประยุกต์ใช้)
เพื่อเป็นแนวทางในการจัดกิจกกรรมทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย นอกจากนี้ยังเป็นการเพิ่มเติมความรู้ทางวิทยาศาสตร์ให้กับตัวเอง เพราะบางเรื่องไม่เคยรู้มาก่อนว่าจะจัดการทดลองอย่างไร การจัดกิจกกรรมการนำเสนอการทดลองครั้งนี้จึงเป็นการเรียนรู้ของทั้งเด็กปฐมวัยและตัวนักศึกษาเองด้วย

Technique  (เทคนิคที่อาจารย์ใช้สอน) 
เปิดวีดีโอการนำเสนอของเพื่อนที่ส่งทาง line







💛💛💛💛💛💛Assessment (การประเมิน)💛💛💛💛💛💛

 our self :   เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและจดบันทึก


     Friend  :    ทุกคนตั้งใจฟังอาจารย์ และดูคลิปการนำเสนอของเพื่อน



    Teacher :  หลังจากที่ดูคลิปการนำเสนอของเพื่อนๆ อาจารย์จะให้คำแนะนำเพิ่มเติมในการนำไปปฏิบัติในการจัดกิโครงการให้กับเด็กปฐมวัย อาจารย์ตรวจอย่างละเอียดทุกขั้นตอน


Classroom  :  บรรยากาศการเรียนดี เพื่อนทุกคนตั้งใจเรียนและช่วยกันทำงานกลุ่มที่ได้รับมอบหมาย



วันเสาร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2561

Diary no.10
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10
การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Provision For Early Childhood
วันศุกร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2561
เวลา 8.30 - 12.30 น.
Story of subject (เนื้อหาที่สอน)
   หลังจากที่เพื่อนๆทุกคนได้นำเสนอการทดลองวิทยาศาสตร์ครบ อาจารย์ให้จับกลุ่มและเลือกเรื่องการทดลอง 1 เรื่อง เพื่อจัดทำเป็นฐานการทดลองกับเด็ก ให้แต่ละกลุ่มตั้งชื่อเรื่องให้น่าสนใจและทำแผนกิจกรรม วัตถุประสงค์ และช่วยกันทำเป็นโครงการของห้องเพื่อไปสู่การทดลองจัดกิจกรรมกับเด็กๆ

 ชื่อฐาน ปริศนา ซี โอ ทู 
วัตถุประสงค์
1. เด็กอธิบายได้ว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์เกิดจากอะไร
2.เด็กบอกได้ว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์มีโทษและประโยชน์อย่างไร

อุปกรณ์
1. เบกกิงโซดา   2. น้ำตาลทราย   3. ผงฟู     4. เกลือ   5. น้ำมะนาว
6.น้ำอัดลม         7. เหรียญ/เนื้อหมู  8. แก้วพลาสติก    9. ช้อน 


ขั้นตอนการทดลองตามกระบวนการวิทยาศาสตร์ 5 ขั้น
1.เด็กรู้จักอะไรบนโต๊ะบ้างคะ และของเหล่านี้สามารถนำไปทำอะไรได้บ้าง 
2. เมื่อนำน้ำมะนาวเทใส่แก้วใบที่่ 1 ที่มีเบกกิงโซดาจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง   เมื่อนำน้ำมะนาวเทใส่แก้วใบที่่ 2 ที่มีน้ำตาลทราย  เมื่อนำน้ำมะนาวเทใส่แก้วใบที่่ ที่มีผงฟ  เมื่อนำน้ำมะนาวเทใส่แก้วใบที่่ 4  ที่มีเกลือ  ตั้งคำถามเพื่อกระตุ้นให้เด็กตอบสมมิตฐาน 
3. เด็กๆ เห็นการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง การทดลอง
4. เด็กรู้ไหมว่าในแก้วที่ 1 ที่มีเบกกิงโซดากับน้ำมะนาว และแก้วใบที่ 3 ที่มีผงฟูกับน้ำมะนาว เกิดฟองขึ้นได้อย่างไร
5. เกิดจากน้ำมะนาวซึ่งเป็นกรดคือมีรสเปรี้ยว ทำปฏิกริยากับเบกกิงโซดาและผงฟูทำให้เกิดฟองอากาศ คือก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ ตรวจสอบกับสมมติฐาน
6. เด็กๆรู้ไหมว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์มาจากอะไรบ้าง เช่น การหายใจ การหายใจของพืช น้ำอัดลม
7. เด็กๆอยากรู้ไหมว่าก๊าซคาร์ไดออกไซค์มันเป็นอย่างไร
8. ก๊าซคาร์บอนที่อยู่ในน้ำอัดลม ไม่ดีต่อสุขภาพและฟัน เด็กๆควรเลี่ยงการรับประทาน 

   วิธีการประเมิน
 1. สังเกตจากพฤติกรรมขณะร่วมปฏิบัติการทดลอง
 2.การสนทนาและตอบคำถามเกี่ยวกับประโยชน์และโทษของก๊าซคาร์บอน
   - ก๊าซคาร์บอนมีประโยชน์อย่างไร
   - ก๊าซคาร์บอนมีโทษอย่างไร

   

Skills  (ทักษะ)
การนำกระบวนทางวิทยาศาสตร์ 5 ขั้น มาใช้ในการตั้งคำถามเพื่อดำเนินการจัดกิจกรรมตั้งแต่ต้นจนจนให้เกิดความสมบูรณ์ที่สุด ทักษะการทำงานเป็นกลุ่มทั้งกลุ่มย่อยและกลุ่มใหญ่ ความสมัคคีในการรับฟังความคิดเห็นของสมาชิก และการวางแแผนการดำเนินงาน

   Apply  (การนำมาประยุกต์ใช้)
เพื่อเป็นแนวทางในการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย ให้เด็กเรียนรู้และสามารถ เชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันได้ รวมทั้งเป็นประสบการณ์สำหรับการจัดทำโครงการต่างๆการวางแผนหน้าที่รับผิดชอบของคนในกลุ่ม

  Technique  (เทคนิคที่อาจารย์ใช้สอน) 
อินเทอร์เนตในการหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวเรื่องที่รับมอบหมาย เช่น เรื่องคาร์บอนฯ มีอะไรบ้างในชีวิต  ประจำวัน

Assessment (การประเมิน)

     our self  : เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจทำงานส่ง

     Friend  : ทุกคนตั้งใจฟังอาจารย์ และให้ความร่วมมือรับฟังความคิดเห็นของเพื่อนๆ

    Teacher : หลังจากที่เลือกเรื่องและจัดทำแผนงานกัน อาจารย์จะให้คำแนะนำเพิ่มเติมในการนำไปปฏิบัติ อาจารย์ตรวจอย่างละเอียดและใส่ใจกับทุกขั้นตอนของโครงการ 


    Classroom  : บรรยากาศการเรียนดี เพื่อนทุกคนตั้งใจเรียนและช่วยกันทำงานกลุ่มที่ได้รับมอบหมาย



วันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2561

Diary no.9

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9
การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Provision for Early Childhood 
วันที่ศุกร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2561
เวลา 8.30 - 12.30 น
.
Story of subject (เนื้อหาที่สอน)
➤➤ การทดลองเรื่อง ปริมาณน้ำ 
น้ำในแก้วมีปริมาณเท่ากันหรือไม่ ?  
 ➤การทดลอง นำแก้ว 4 ใบที่มีขนาดแตกต่างกัน แล้วเทน้ำใส่ลงในแก้วทั้ง 4 ใบในปริมาณที่เท่ากัน
 จากนั้นถามเด็กๆว่า น้ำที่อยู่ในแก้วมีปริมาณเท่ากันหรือไม่ ? ถ้าเด็กตอบว่าไม่ หรือแต่ละใบมีน้ำที่แตกต่างกัน แสดงว่าเด็กอยู่ใน
 ➤ขั้นอนุรักษ์ คือการตอบตามที่ตาเห็น แต่ถ้าเด็กๆตอบว่า น้ำในแก้วมีปริมาณที่เท่ากันแสดงว่าเด็กๆได้ผ่านขั้นอนุรักษ์มาแล้ว คือการตอบด้วยเหตุและผล  
➤จากการทดลอง เด็กจะได้ใช้ความคิด และมีส่วนร่วมในการทดลอง คือ การตักน้ำใส่น้ำแก้วได้เรียนรู้จากการเห็นและสัมผัสของจริง สามารถเชื่อมโยงเรื่องต่างๆได้


➤➤ การทดลองเรื่อง น้ำมะนาวโซดา 
    ทดลองโดยการนำเบกกิงโซดา ผงมะนาว และน้ำผสมกัน จากการวัด ตวง  ส่วนผสมในปริมาณที่เหมาะสม จากนั้นใส่น้ำหวานลงไป  เพื่อทำน้ำมะนาวโซดา ส่วนผสมต่างๆที่ใช้ในการทดลอง ถ้าใส่ในปริมาณมากจะทำให้รสชาตินั้นโดดเด่นขึ้นมา ถ้าเปรี้ยวจัดแสดงว่าใส่กรดมะนาวผงมากเกินไป การใส่น้ำตาลลงไปไม่สามารถทำให้รสเปรี้ยวหายไปได้ แต่จะทำให้น้ำเปรี้ยวจัดและหวานจัดไปเลย เพราะลิ้นส่วนบริเวณที่รับรสเปรี้ยวและรสหวานอยู่คนละแห่ง โดยด้านข้างจะรับเปรี้ยว และส่วนปลายลิ้นจะรับรสหวาน
 ➤สรุปการทดลอง เมื่อเบกกิงโซดาผสมกับน้ำมะนาวและใส่น้ำหวานลงไปจะได้น้ำมะนาวโซดาที่มีความอร่อย คือผงมะนาว 1 ช้อน ต่อเบกกิงโซดาเพียงเล็กน้อย เพราะใส่มากจะทำให้เกิดรสเฝื่อน การใส่น้ำหวานทำให้รสชาติดีไม่ต้องเพิ่มน้ำตาล
 ➤ข้อค้นพบ มื่อนำเบกกิงโซดาผสมกับกรดมะนาวผงและน้ำหวานจะได้น้ำมะนาวโซดาที่มีฟองฟู่คือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 
 


Skills  (ทักษะ)
การนำเสนอการทดลองด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่มีความเชื่อมโยงกัน การนำเสนอด้วยการใช้คำพูดต่างๆเพื่อดึงดูดความสนใจ และความร่วมมือช่วยเหลือกัน

Apply  (การนำมาประยุกต์ใช้)
เพื่อเป็นแนวทางในการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย ให้เด็กเรียนรู้และสมารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันได้

Technique  (เทคนิคที่อาจารย์ใช้สอน) 
หาข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่องที่ได้รับมอบหมายจากอินเทอร์เน็ตและสื่อต่างๆ  ฝึกการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในการนำเสนอรู้จักการนำกราฟิกมาใช้ในรูปแบบต่างๆ และส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้และการลงมือทำ


Assessment (การประเมิน)
    our self  : เข้าเรียนตรงเวลา ให้ความร่วมมือในการทดลองของเพื่อนๆ

     Friend  : ทุกคนตั้งใจฟังอาจารย์ และให้ความร่วมมือมีความเอื้อเฝื้อกัน

    Teacher : หลังจากที่่ได้ทำการทดลองไป อาจารย์ได้มีการให้คำแนะนำเพิ่มเติมเพื่อแก้ไขให้ดีขึ้น อาจารย์อธิบายขั้นตอนกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ชัดเจนและเข้าใจ

    Classroom  : บรรยากาศการเรียนดี เพื่อนทุกคนตั้งใจเรียน ไม่ส่งเสียงดัง



Diary no.11
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11
การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Provision For Early Childhood
วันศุกร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2561
เวลา 8.30 - 12.30 น.

 Story of subject (เนื้อหาที่สอน)
       วันนี้อาจารย์ได้เปิดวีดีโอการนำเสนอการทดลองวิทยาศาสตร์ของเพื่อน ๆและได้ให้คำแนะนำรายละเอียดในการนำเสนอเพิ่มเติม เพื่อปรับแก้ให้การนำเสนอสู่การจัดกิจกกรมโครงการให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด

⏩ เปิดปิด! สวิสซ์มีหน้าที่อะไร  ของนางสาวปรางทอง  สุริวงษ์
อะไรที่ทำให้ไฟติดบ้าง? ประเด็นปัญหา
   ทดลองโดยการ
นำสายไฟและอุปกรณ์ต่างๆ  สายไฟ ถ่าน หลอดไฟ ต่อกันจนครบวงจร แล้วให้เด็กสังเกตว่าเกิดอะไรขึ้น เกิดไฟติดแสดงว่า ต่ออุปกรณ์จนครบวงจร แล้วไฟฟ้าไหลจากจุดกำเนิดคือถ่าน ผ่านสายไฟจนทำให้เกิดไฟติด เมื่อถอดออกไฟดับเพราะไม่ครบวงจร  แล้วถ้านำมาต่อกับวัสดุอื่นๆ วัสดุใดต่อไฟติดแสดว่างนำไฟฟ้า ส่วนวัสดุที่ต่อแล้วไฟไม่ติดแสดงว่า เป็นฉนวนไฟฟ้า ฉนวนไฟฟ้ามีเพื่อป้องกันไฟฟ้ารั่วมาสู่ตัวเรา

⏩ เมล็ดพืชเต้นระบำ  ของนางสาวบงกชกมล   ยังโยมร
จะทำอย่างไรให้ถั่วเขียวลอยขึ้นมาบ้าง ? ประเด็นปัญหา
   ทดลองโดยการ
1.นำถั่วเขียวใส่ในขวดโหล แล้วเทน้ำเปล่าลงไป ปรากฏว่า น้ำเปล่าไม่ทำให้ถั่วเขียวลอย 
2.นำถั่วเขียวใส่ในขวดโหลใบที่ 2 แล้วเทน้ำโซดาลงไป ปรากฏว่า ถั่วเขียวลอย แสดงว่าน้ำโซดาทำให้ถั่วเขียวลอย 
สังเกตดูว่า โซดามีฟองซ่าเกิดขึ้น ถั่วเขียวลอยเพราะฟองซ่า ฟองซ่านั้นคือคือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
สรุป น้ำที่ทำให้ถั่วเขียวลอยคือ น้ำโซดา เพราะมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

เรื่อง คาร์บอนไดออกไซด์ ของนางสาวมารีน่า  ดาโร๊ส
อุปกรณ์ที่นำมาถ้าเอาแก้วครอบเทียนจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง
 คำถามกระตุ้นเพื่อให้เด็กตอบสมมติฐาน
   ทดลองโดยการ 
จุดเทียนเล็กแล้วนำแก้วครอบเทียน จากนั้นให้เด็กๆสังเกตว่าดูเทียนที่ค่อยๆดับแล้วกลายเป็นควัน เพราะการที่เราเอาแก้วไปครอบเทียนไว้ทำให้อากาศข้างในที่เป็นออกซิเจนค่อยๆหมดไป กลายเป็นคาร์บอนไดออกไซด์ สรุปถ้าไม่มีออกซิเจนไฟไม่ติด


⏩ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ช่วยดับไฟ ของนางสาวอุไรพร   พวกดี 
วัสดุอุปกรณ์ เบกกิงโซดา น้ำมะนาว เทียน  ถ้วยรอง
ถ้านำน้ำมะนาวเทลงไปในภาชนะที่มีเบกกิงโซดาจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ? คำถามกระตุ้นให้ตอบสมมติฐาน
ทดลองโดยการ
1. ตักเบกกิงโซดา 2 ช้อน ใส่ในภาชนะ
2. วางเทียนลงในภาชนะแล้วจุดเทียน
3.เทน้ำมะนาวลงในภาชนะที่มีเบกกิงโซดา แล้วสังเกตปรากฏว่าไฟดับ
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เกิดจากน้ำมะนาวทำปฏิกิริยากับเบกกิงโซดา สรุป ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ช่วยดับไฟ

นำหรือไม่นำไฟฟ้า ของนางสาวณัฐชา  บุญทอง

วัสดุอุปกรณ์ กรรไกร คริปหนีบกระดาษ ถ่าน สายไฟ หลอดไฟ แก้วน้ำ ยางลบ เหรียญ
กระแสไฟฟ้าไหลผ่านอะไรได้บ้าง ? 
ถ้าต่อของแต่ละชนิดจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ? กระตุ้นให้ตอบสมมติฐาน
ทดลองโดยการ
ต่อสายไฟและถ่านจนครบวงจรปรากฏว่าหลอดไฟติด แต่ถ้าถอดออกไฟดับ เพราะไม่ครบวงจร ทดลองเอาวัสดุต่างๆไปเชื่อมต่อ ถ้าหลอดไฟติดแสดงว่านำไฟฟ้า เรียกว่าโลหะ  คือ เหรียญ กรรไกร คริปหนีบกระดาษ  ถ้าต่อแล้วหลอดไฟไม่ติดเรียกว่า อโลหะ ไม่นำไฟฟ้า คือ แก้วน้ำและยางลบ 

การหักเหของน้ำ ของนางสาวสุจิณณา  พาพันธ์
 ทดลองโดยการ 
1. นำผ้าเช็ดหน้าถูกับช้อนจนเกิดความร้อน
2.นำช้อนที่มีไฟฟ้าสถิตไปวางขนานใกล้กับสายน้ำ และสังเกตการเปลี่ยนแปลง 
สรุปได้ว่า สร้างไฟฟ้าสถิตทำให้น้ำเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่


Skills  (ทักษะ)
การนำกระบวนทางวิทยาศาสตร์ 5 ขั้น มาใช้ในการตั้งคำถามเพื่อดำเนินการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ให้กับเด็ก ๆ ตั้งแต่ต้นจนจนให้เกิดความสมบูรณ์ที่สุด 

Apply  (การนำมาประยุกต์ใช้)
เพื่อเป็นแนวทางในการจัดกิจกกรรมทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย นอกจากนี้ยังเป็นการเพิ่มเติมความรู้ทางวิทยาศาสตร์ให้กับตัวเอง เพราะบางเรื่องไม่เคยรู้มาก่อนว่าจะจัดการทดลองอย่างไร การจัดกิจกกรรมการนำเสนอการทดลองครั้งนี้จึงเป็นการเรียนรู้ของทั้งเด็กปฐมวัยและตัวนักศึกษาเองด้วย

Technique  (เทคนิคที่อาจารย์ใช้สอน) 
เปิดวีดีโอการนำเสนอของเพื่อนที่ส่งทาง line







💛💛💛💛💛💛Assessment (การประเมิน)💛💛💛💛💛💛

 our self :   เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและจดบันทึก


     Friend  :    ทุกคนตั้งใจฟังอาจารย์ และดูคลิปการนำเสนอของเพื่อน



    Teacher :  หลังจากที่ดูคลิปการนำเสนอของเพื่อนๆ อาจารย์จะให้คำแนะนำเพิ่มเติมในการนำไปปฏิบัติในการจัดกิโครงการให้กับเด็กปฐมวัย อาจารย์ตรวจอย่างละเอียดทุกขั้นตอน


Classroom  :  บรรยากาศการเรียนดี เพื่อนทุกคนตั้งใจเรียนและช่วยกันทำงานกลุ่มที่ได้รับมอบหมาย